ผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, การรักษาบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) เป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยรวมทั้งในโรงพยาบาลยโสธร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลยโสธร
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Study) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยในของแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผลการรักษาและอาการทางคลินิกของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่ศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเวลาที่ศึกษา จำนวน 289 ราย พบว่า 1) พบผู้ป่วย NSTEMI 261 ราย (90.3%) รองลงมาคือ STEMI 26 ราย (9%) 2) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 66.67 ปี ส่วนใหญ่เป็นชาย ร้อยละ 61.59 3) อัตราเสียชีวิตแยกตามเพศ คือ ชายเท่ากับ 6.92% หญิงเท่ากับ 5.19% 4) อาการและอาการแสดง ส่วนมากมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือหอบเหนื่อย ร้อยละ 33.56 รองลงมาคือ ปวดจุกบริเวณลิ้นปี หรือแน่นท้อง (GI symptoms) ร้อยละ 12.11 5) การรักษาให้ยา Streptokinase ตาม Criteria (ร้อยละ 100) ใช้ยา Aspirin ในผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้าม (ร้อยละ 97.92) รองลงมาคือยากลุ่ม Anti-angina (ร้อยละ 95.16) 6) การเข้ารับการรักษา โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มาโดยการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนและ โรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดยโสธร ร้อยละ 60.2 รองลงมาคือผู้ป่วยมาเอง ร้อยละ 27.3 นำส่งโดยผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ยังต่ำ ร้อยละ 12.5 7) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล วันนอนเฉลี่ย 6.35 วัน (Min=1, Max=52) ส่วนใหญ่วันอนอยู่ในช่วง 1-5 วัน (ร้อยละ 66.1) รองลงมาคือช่วง 6-10 วัน (ร้อยละ 19.0) 8) ค่ารักษาพยาบาลในการนอนโรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยมีค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 59,298.31 บาท และ 9) สถานะการจำหน่าย พบว่า Refer เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อ ร้อยละ 40.4 รองลงมาคือจำหน่ายทุเลา ร้อยละ 28.7
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบในชายมากว่าหญิง ช่วงอายุที่พบมากคือ 60-69 ปี มีการใช้ยาในกลุ่ม Thombolytic สูงถึง 100% แต่การเข้าถึงโดยผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ยังต่ำ
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease (CAD) ปี พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1081120191227084415.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตัวชี้วัด การรักษาผู้ป่วย STEMI ปี พ.ศ. 2564-2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level
=1&flag_kpi_year=2023&source=pformated/format1.php&id=12d5b6eef67669da17758ef281915cbb
รายงานสถิติข้อมูลผู้ป่วย ACS ประจำปี ปี พ.ศ. 2564-2566. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2563.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.
Chen J, Radford MJ, Wang Y, Marciniak TA, Krumholz HM. Do “America’s Best Hospitals” perform better for acute myocardial infarction?. N Engl J Med 1999; 340: 286-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.