อุบัติการณ์ของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • วรพล ลี้ประกอบบุญ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, Pioglitazone, Thiazolidinediones

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ความชุกของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีโรคเบาหวานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน การจัดการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระบบสาธารณสุข

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยา Pioglitazone และตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงและอาการข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาที่แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 401 คน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม ปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงและการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแคว์ รวมทั้งการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และ Logistic Regression

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.54) มีอายุเฉลี่ย 60.21 ปี (ช่วงอายุ 28-93 ปี) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 171 คน (ร้อยละ 42.64) มีภาวะเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาบัตรทอง (ร้อยละ 87.53) การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่เป็นตัวทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะ AF (OR=0.268), ระดับ LDL (OR=3.654), รอบเอว (OR=2.149) และการใช้ยา Simvastatin (OR=11.018)

สรุป: การใช้ยา Pioglitazone ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ ภาวะ AF, ระดับ LDL สูง, รอบเอวที่เพิ่มขึ้น และการใช้ยา Simvastatin ผลการศึกษานี้เน้นย้ำความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงและการดูแลเฉพาะทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

Author Biography

วรพล ลี้ประกอบบุญ, โรงพยาบาลยโสธร

พ.บ. วว. สาขาอายุรศาสตร์

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Guideline For Diabetes 2017. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่วมเย็น มีเดีย; 2560. หน้า 39-40.

Saeedi P, Petersohn I, Salpea P, Malanda B, Karuranga S, Unwin N, et al. Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9th edition. Diabetes Res Clin Pract 2019; 157: 107843. doi: 10.1016/j.diabres.2019.107843. PubMed PMID: 31518657.

กองโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี 2561. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission3

Whiting DR, Guariguata L, Weil C, Shaw J. IDF diabetes atlas: global estimates of the prevalence of diabetes for 2011 and 2030. Diabetes Res Clin Pract 2011; 94(3): 311-21. doi: 10.1016/j.diabres.2011.10.029. PubMed PMID: 22079683.

Rosamond W, Flegal K, Furie K, Go A, Greenlund K, Haase N, et al. Heart disease and stroke statistics-2008 update: a report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation 2008; 117(4):e25-146. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.107.187998. PubMed PMID: 18086926.

Haffner SM, Lehto S, Ronnemaa T, Pyorala K, Laakso M. Mortality from coronary heart disease in subjects with type 2 diabetes and in nondiabetic subjects with and without prior myocardial infarction. N Engl J Med 1998; 339(4): 229-34. doi: 10.1056/NEJM199807233390404. PubMed PMID: 9673301.

Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Lancet 1998; 352(9131): 837-53. PubMed PMID: 9742976.

Ferrannini E, DeFronzo RA. Impact of glucose lowering drugs on cardiovascular disease in type 2 diabetes. Eur Heart J 2015; 36(34): 2288-96. doi: 10.1093/eurheartj/ehv239. PubMed PMID: 26063450.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สมาคมโรคเบาหวานอบรม “ทางเลือกใหม่รักษาเบาหวานชนิด 2” เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18016

Plengvidhya N, Leelawatana R, Pratipanawatr T, Deerochanawong C, Krittiyawong S, Bunnag P, et al. Thailand diabetes registry and risk factors of stroke in Thai diabetes patients. J Med Assoc Thai 2006; 89 Suppl 1: S49-53. PubMed PMID: 17715834.

เสกสรร จวงจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รพ.บึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 เมษายน-มิถุนายน 2558; 29(2): 233-9.

สุรัตน์ บุญยืน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกพิเศษโรคเบาหวาน โรงพยาบาลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย กันยายน-ธันวาคม 2559; 6(3): 256-66.

American Heart Association. Heart disease and stroke statistics-2010 update: A Report From the American Heart Association. Circulation 2010; 121(7): e46-215. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.109.192667.

อรรชร สุนทรารักษ์. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม พฤษภาคม-สิงหาคม 2561; 5(2): 27-38.

Ashwell M, Gunn P, Gibson S. Waist-to-height ratio is a better screening tool than waist circumference and BMI for adult cardiometabolic risk factors: systematic review and meta-analysis. Obes Rev 2012; 13(3): 275-86. doi: 10.1111/j.1467-789X.2011.00952.x. PubMed PMID: 22106927.

Mihaylova B, Emberson J, Blackwell L, Keech A, Simes J, Barnes H, et al. The effects of lowering LDL cholesterol with statin therapy in people at low risk of vascular disease: meta-analysis of individual data from 27 randomised trials. Lancet 2012; 380(9841): 581–90.

Schwartz GG, Olsson AG, Ezekowitz MD, Ganz P, Oliver MF, Waters D, et al. Effects of atorvastatin on early recurrent ischemic events in acute coronary syndromes: the MIRACL study: a randomized controlled trial. JAMA 2001; 285(13): 1711-8. doi: 10.1001/jama.285.13.1711. PubMed PMID: 11277825.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2562; 35(4): 59-71.

Kolovou GD, Anagnostopoulou KK, Cokkinos DV. Pathophysiology of dyslipidaemia in the metabolic syndrome. Postgrad Med J 2005; 81(956): 358-66. doi: 10.1136/pgmj.2004.025601. PubMed PMID: 15937200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-01