พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย, ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2565 – ตุลาคม 2565 ดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาล ระยะที่ 3 ทดลองใช้ ระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ 1) ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมียและผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จำนวน 60 ราย 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ 1) คู่มือมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียฉบับใหม่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกตัวชี้วัดการให้การพยาบาลระยะก่อนให้เลือด ขณะให้เลือดและหลังให้เลือด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร (3) แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลเด็กธาลัสซีเมีย (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังการให้ความรู้ด้วยสถิติ pair t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ประกอบด้วย มาตราฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและวิดิโอสอนสุขศึกษาโรคธาลัสซีเมีย 2) ประสิทธิผลของรูปแบบฯ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.97, S.D. = 0.37) และการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล อยู่ช่วงร้อยละ 88.7–100 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา (ก่อน = 8.52, หลัง = 14.67) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (p-value= .000) และความพึงพอใจของผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.98, S.D. = 0.04)
References
วรวรรณ ตันไพจิตร. โรคธาลัสซีเมีย. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์; 2540.
พงษ์จันทร์ หัตถีรัตน์, ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา, อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์. โลหิตวิทยาในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2538. หน้า 71-90.
วิปร วิประกษิต.“ธาลัสซีเมีย”: การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต ตุลาคม-ธันวาคม 2556; 23 (4): 303-20.
สุทัศน์ ฟู่เจริญ, ปราณี ฟู่เจริญ. Thalassemia and hemoglobinopathies. ใน: ถนอมศรี ศรีชัยกุล, แสงสุรีย์ จูฑา, บรรณาธิการ. ตำราโลหิตวิทยา: การวินิจฉัยและการรักษาโรคเลือดที่พบบ่อยในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2537. หน้า 202-42.
พยอม อิงคตานุวัฒน์, ศุภาสินี กังวาลเนาวรัตน์. สภาวะจิต-สังคมในเด็กเป็นโรคธาลัสซีเมีย. วารสารสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2522; 18: 25-47.
กาญจนา จันทร์สูง. แนวทางการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร กรกฎาคม-กันยายน 2543; 15(3): 215-24.
ประกริต รัชวัตร์, นัยนา ภูลม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ มกราคม-เมษายน 2565; 15(1): 334-49.
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. สรุปข้อมูลการให้บริการของหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมในโรงพยาบาลยโสธรประจำปี. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2564.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.
นงพรรณ พิริยานุพงศ์. คู่มือวิจัยและพัฒนา. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2546.
พุทธวร พิลาฤทธิ์, ศุภลดา ถาแสนทรัพทย์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสุขภาพ โรงพยาบาลชุมชน กันยายน-ธันวาคม 2566; 1(3): 153-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.