การพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย, การพยาบาลบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อยเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง โดยเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดสมองหรือจากการที่ลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่น จากหัวใจหรือจากการแตกของหลอดเลือดสมองเกิดการคั่งของเลือด เนื้อสมองถูกกดเบียด เนื้อสมองเกิดภาวะบวม ถูกทำลายเกิดความเสียหายขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และถ้าเนื้อสมองได้รับความเสียหายรุนแรงผู้ป่วยอาจจะเกิดความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการประเมินผู้ป่วยที่แม่นยำและให้การพยาบาลที่รวดเร็ว การติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่องและระยะจำหน่าย จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดความรุนแรงของโรคได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย จำนวน 2 ราย
วิธีศึกษา: เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย จากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ที่นอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยพิเศษ อายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ในช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
ผลการศึกษา: พบว่า 1) กรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับยาต้านเกล็ดเลือด รวมทั้งยาควบคุมอาการของโรคประจำตัว มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกัน 9 ข้อ และแตกต่างกัน 2 ข้อ 2) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลที่สอดรับกับปัญหาของผู้ป่วย ได้แก่ การเฝ้าระวังการเกิดแรงดันในกะโหลกศีรษะสูง ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาต้านเกล็ดเลือด อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ ความวิตกกังวล นอนไม่หลับ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ พลัดตกหกล้ม การสำลัก การเกิดแผลกดทับ ข้อติด ข้อไหล่เคลื่อน และผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปบ้าน โดยได้รับการดูแลตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละรายจนอาการดีขึ้นจำหน่ายทุเลา รวมวันนอน 10 วัน และนัดติดตามผลอีก 1 เดือน
สรุป: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย เป็นภาวะวิกฤติที่คุกคามต่อชีวิตของผู้ป่วย การประเมินอาการเปลี่ยนแปลง การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่องและระยะจำหน่าย ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม ทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติและสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้
References
รัตนา นิลเพชร์พลอย, สมศักดิ์ เทียมเก่า, ทรงขวัญ ศิลารักษ์. โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดในผู้ป่วยอายุน้อยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร กรกฎาคม-กันยายน 2547; 19(3): 122-30.
Wasay M, Kaul S, Menon B, Venketasubra-manian N, Gunaratne P, Khalifa A, et al. Ischemic stroke in young Asian women: risk factors, subtypes and outcome. Cerebrovasc Dis 2010; 30(4): 418-22. doi: 10.1159/000317075. PubMed PMID: 20720411.
เพ็ญแข แดงสุวรรณ. Stroke ฆาตกรเงียบ: ระวังภัย ห่างไกล โรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ใกล้หมอ; 2550.
Lee TH, Hsu WC, Chen CJ, Chen ST. Etiologic study of young ischemic stroke in Taiwan. Stroke 2002; 33(8): 1950-5. doi: 10.1161/01.str.0000021409.16314.16. PubMed PMID: 12154244.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย เมษายน-มิถุนายน 2566; 39(2): 39-46.
ศุจิพิชชา จันทรประภาพกุล, แสงเดือน มโยทาร, ศุภชาติ ชมพูนุช, สัญสนีย์ พงษ์ภักดี. อัตราความชุกและสาเหตุของการเกิดโรคสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย กันยายน-ธันวาคม 2561; 17(3): 5-14.
วิศัลย์ ธีระตันติกานนท์, พาวุฒิ เมฆวิชัย. สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดในผู้ป่วยอายุน้อย ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย เมษายน-มิถุนายน 2560; 33(2): 1-8.
ประภัสสร สมศรี, อนุวัฒน์ สุรินราช, ปิยะพงษ์ พาพิทักษ์, ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษาจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร มกราคม-เมษายน 2563; 23(1): 86-97.
โรงพยาบาลยโสธร. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2566.
Boot E, Ekker MS, Putalala J, Kittner S, Leeuw FD, Tuladhar AM. Ischaemic stroke in young adults: a global perspective. J Neurol Neurosurg Psychiaty 2020; 91(4): 411-7. doi: 10.1136/jnnp-2019-322424. PubMed PMID: 32015089.
Grorge MG. Risk factors for ischemic stroke in younger adults: a focused update. Stroke 2020; 51(3): 729-35. doi: 10.1161/STROKEAHA.119.024156. PubMed PMID: 32078487.
สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.neurothai.org/images/2012/download/stroke-nurse2007.pdf
Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. Guidelines for the Early Management of Patients with Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2019; 50(12): e344-e418. doi:10.1161/STR.0000000000000211. PubMed PMID: 31662037.
Gordon M. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill; 1994.
Wang Y, Wang Y, Zhao X, Liu L, Wang D, Wang C, et al. Clopidogrel with aspirin in acute minor stroke or transient ischemic attack. N Engl J Med 2013; 369(1): 11-9. doi: 10.1056/NEJMoa1215340. PubMed PMID: 23803136.
จันทร์จิรา สีสว่าง, นงณภัทร รุ่งเนย. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: กลยุทธ์สู่การดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. วารสารพยาบาลศาสตร์ กรกฎาคม-กันยายน 2559; 34(3): 10-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.