การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุชานันท์ โคตรสมบัติ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหัก, การบาดเจ็บของไขสันหลัง

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและการบาดเจ็บของไขสันหลังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลให้การทำงานของร่างกายด้านการเคลื่อนไหว การรับรู้ความรู้สึกบกพร่องไป ซึ่งเป็นผลจากประสาทไขสันหลังได้รับความเสียหาย ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการอ่อนแรงของขา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิต ความพิการ ระยะเวลาการรักษาที่ยาวนานผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย จากความเจ็บปวดหรือเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรค เป้าหมายในการรักษาในระยะแรกของผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ลดอัตราการตาย ลดการบาดเจ็บเพิ่มเติมของไขสันหลังร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการดูแลต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและไม่เกิดความพิการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคมได้เร็วที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนเอวร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด 2 ราย

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย จากผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธร ระหว่างเดือนมีนาคม 2567 ถึงเดือนมิถุนายน 2567 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลยโสธร วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยใช้แบบแผนการรับรู้สุขภาพของกอร์ดอน และการดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลและทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม

ผลการศึกษา: จาการศึกษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด 2 ราย พบว่า 1) ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยที่เหมือนกัน 7 ข้อและต่างกัน 1 ข้อ 2) ได้รับการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหา ได้แก่ มีภาวะ Neurogenic Bowel, Neurogenic Bladder, การดูแลเรื่องความเจ็บปวด ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวล ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในแต่ละระบบ การดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับ ตลอดจนการวางแผนจำหน่าย โดยได้รับการดูแลตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละรายจนอาการดีขึ้น จำหน่ายทุเลาและนัดติดตามผลอีก 1 เดือน 

สรุป: ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดมีภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่คุกคามต่อชีวิต การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกระยะของการดูแลจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและวางแผนการให้การพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและครอบครัว ตลอดจนการดูแลต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคม

Author Biography

สุชานันท์ โคตรสมบัติ, โรงพยาบาลยโสธร

พย.ม.

References

พิศยา บุบผา. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลัง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว; 15 พฤศจิกายน 2566. หน้า 1-17.

จิรภา สิงห์สูง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังและไขสันหลังฟกซ้ำ. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี กันยายน-ธันวาคม 2564; 30(2): 53-61.

พัชรี บุตรแสนโคตร, จุฑามาศ คงกลาง. การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลังในระยะฟื้นฟู. ศรีนครินทร์เวชสาร กันยายน-ตุลาคม 2564; 36(5): 639-48.

Zileli M. Osorio-Fonseca E, Konovalov N, Cardenas-Jalabe C, Kaprovoy S, Mlyavykh S, et al. Early manangement of cervical spine trauma: WFNS spine committee recommendations. Neurospine 2020; 17(4): 710-22. doi: 10.14245/ns.2040282.141. PubMed PMID: 33401852.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลสถิติและตัวชี้วัดที่สำคัญ สถิติสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?%2Fnso%2Fstatistics_and

_indicators=&impt_branch=305&page=1

โสภา หมู่ศิริ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากการหักของกระดูกสันหลังระดับคอส่วนล่าง: กรณีศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://yrh.moph.go.th/wp-content/uploads/2024/02/km-19022024-F.pdf

สุพาพร ตันดี. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับคอส่วนล่าง: กรณีศึกษา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กรกฎาคม-ธันวาคม 2565; 4(2): 325-42.

ระบบสารสนเทศ (HosXP). รายงานข้อมูลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังมารับบริการในโรงพยาบาลยโสธร ปี พ.ศ. 2564-2566. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2566.

กิ่งแก้ว ปาจารีย์. ไขสันหลังบาดเจ็บ. กรุงเทพ: ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร. รู้หรือไม่ “อ้วน” ทำร้าย “ผิวหนัง”. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/รู้หรือไม่-อ้วน-ทำร้าย-ผ/

มุทิตา จองวรรณศิริ, วิทย์ วิเศษสินธุ์. การพยาบาลผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากการบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการตรวจยูโรพลศาสตร์. รามาธิบดีพยาบาลสาร กันยายน-ธันวาคม 2562; 25(3): 270-9.

อัญชลี ยศกรณ์. การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังในสถาบันประสาทวิทยา. วชิรสารการพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2564; 23(2): 44-56.

เกศกนก คำเรืองศรี, อภิชนา โฆวินทะ. การศึกษาลักษณะอุจจาระของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร มกราคม-เมษายน 2558; 25(1): 6-14.

งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์. แผนการนิเทศการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/57-2020-04-07-09-16-14#

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-01