ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็น (1) ผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยก่อนใช้แนวปฏิบัติและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ (2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินสุขภาพช่องปาก แบบบันทึกรายงานการติดเชื้อการวินิจฉัยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ การดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle แบบสอบถามความยากง่ายในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle และความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test, Chi–Square และ Fisher’s Exact Test
ผลการวิจัย: กลุ่มที่ใช้ใแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม มีอัตราการเกิด VAP เท่ากับ 3.86 ต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติและสามารถลดอัตราการเกิด VAP ได้ 1.92 ต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลานอนเฉลี่ยในหอผู้ป่วยหนัก และคะแนนเฉลี่ยความสะอาดช่องปาก กลุ่มใช้แนวปฏิบัติมีค่าคะแนนต่ำกว่ากลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นหลังการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะและอภิปรายผล: ควรมีการนำไปใช้และปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความตระหนักและการนิเทศกำกับสม่ำเสมอให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ ด้านการวิจัยควรศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มากขึ้น
References
Martinez-Reviejo R, Tejada S, Jansson M, Ruiz-Spinelli A, Ramirez-Estrada S, Ege D, et al. Prevention of ventilator-associated pneumonia through care bundles: A systematic review and meta-analysis. J Intensive Med 2023; 3(4): 352-64. doi: 10.1016/j.jointm.2023.04.004. PubMed PMID: 38028633.
Battaglia CC, Hale K. Hospital-acquired infections in critically ill patients with cancer. J Intensive Care Med 2019; 34(7): 523–36. doi: 10.1177/0885066618788019. PubMed PMID: 30012057.
Stoclin A, Rotolo F, Hicheri Y, Mons M, Chachaty E, Gachot B, et al. Ventilator-associated pneumonia and bloodstream infections in intensive care unit cancer patients: a retrospective 12-year study on 3388 prospectively monitored patients. Support Care Cancer 2020; 28(1): 193-200. doi: 10.1007/s00520-019-04800-6. PubMed PMID: 31001694.
Singh P, Arshad Z, Srivastava VK, Singh GP, Gangwar RS. Efficacy of oral care protocols in the prevention of ventilator-associated pneumonia in mechanically ventilated patients. Cureus 2022; 14(4): e23750. doi: 10.7759/cureus.23750. PubMed PMID: 35518542.
Winning L, Lundy FT, Blackwood B, McAuley DF, El Karim I. Oral health care for the critically ill: a narrative review. Crit Care 2021; 25(1): 353. doi: 10.1186/s13054-021-03765-5. PubMed PMID: 34598718.
ระบบสารสนเทศ. สถิติหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2567.
Karimi S, Kolyaei E, Karimi P, Rahmani K. Effectiveness of supervised mplementation of an oral health care protocol on ventilator-associated pneumonia patients in intensive are units: a double-blind multicenter randomized controlled trial. Infect Prev Pract 2023; 5(3): 100295. doi: 10.1016/j.infpip.2023.100295. PubMed PMID: 37457637.
เพชรัตน์ รุจิพงศ์, เสาวลักษณ์ เล็กอุทัย, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลความสะอาดช่องปากต่อภาวะสุขภาพของช่องปากและการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลศาสตร์ กันยายน-ธันวาคม 2552; 27(3): 57–64.
ตระการตา แซ่ฉั่ว, มนฤดี คงวัฒนานนท์, ใจรพร บัวทอง, สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและการเกิดปอดอักเสบจากการเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติ: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารสภาการพยาบาล ตุลาคม-ธันวาคม 2561; 33(4): 46-63.
วินิตย์ หลงละเลิง, ปริศนา ปทุมอนันต์. ผลการดูแลสุขภาพในช่องปากจากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital.tu.ac.th/ndtuh/upload/addsome/files/2022032410530414.pdf
อุไร คำมาก, ศุภชัย รักแก้ว, ปิยรัตน์ อินทโชติ, ศิรินทิยา พูลโคก, ปียานุช ลาหล้าเลิศ, วรรณพรรณ สาสุขวัฒน์, และคณะ. โปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มกราคม-เมษายน 2565; 7(1): 57-73.
อรดา สีหาราช, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, คำผล สัตยวงษ์, อนุพล พาณิชโชติ. ผลของโปรแกรมการทำความสะอาดช่องปากต่อสุขภาพช่องปาก และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ. วารสารสภาการพยาบาล ตุลาคม-ธันวาคม 2565; 37(4): 36-51.
Fu LS, Zhu LM, Yang YP, Lin L, Yao LQ. Impact of oral care modalities on the incidence of ventilator-associated pneumonia in the intensive care unit: A meta-analysis. Medicine (Baltimore) 2023; 102(13): e33418. doi: 10.1097/MD.0000000000033418. PubMed PMID: 37000078.
Vieira PC, de Oliveira RB, da Silva Mendonc TM. Should oral chlorhexidine remain in ventilator-associated pneumonia prevention bundles?. Med Intensiva (Engl ED) 2022; 46(5): 259-68. doi: 10.1016/j.medine.2020.09.010. PubMed PMID: 35598950.
นัชนพ รัตนเดชสกุล. แปรงสีฟันพร้อมตัวล็อคท่อดูดน้ำลายสำหรับผู้ป่วยติดเตียง. วารสารวิชาการสาธารณสุข กันยายน-ตุลาคม 2565; 31(5): 896-902.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41(4): 1149-60. doi: 10.3758/BRM.41.4.1149. PubMed PMID: 19897823.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000; 35(2): 301-9. PubMed PMID: 10873242.
Beck S. Impact of a systematic oral care protocol on stomatitis after chemotherapy. Cancer Nurs 1979; 2(3): 185-99. PubMed PMID: 255358.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.