การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู: กรณีเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ลลนา รวมธรรม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองตีบตันเป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบในผู้ใหญ่วัยทำงานเพิ่มสูงขึ้น  ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองราว 15 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉลี่ยทุก ๆ 6 วินาที จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู กรณีเปรียบเทียบ 2 ราย

วิธีการศึกษา: วิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู คัดเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร  ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567

ผลการศึกษา: พบว่า 1) กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยวัย 76 ปี มาด้วย แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว ก่อนมาโรงพยาบาล 7 ชั่วโมง ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด พบ Progressive Stroke ชั่วโมงที่ 30 มีอาการอ่อนแรงแขนขาซ้ายมากขึ้น เฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก ได้ให้ Antibiotic ให้อาหารทางสายยาง อาการดีขึ้น แต่ยังเดินไม่ได้ Motor Power Left Upper 1/Lower Grade 2, Right Grade 5 All ส่งกลับโรงพยาบาลชุมชน ดูแลแบบ Intermediate Care จำนวนวันนอน 14 วัน นัดติดตาม 1 เดือน 2) กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทยวัย 49  ปี มาด้วย แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ก่อนมาโรงพยาบาล 5 ชั่วโมง ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด ตรวจพบเป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ให้อาหารทางสายยาง 3 วันแรก  รับประทานอาหารได้เอง เดินได้ใช้ไม้ค้ำยัน Motor Power Left Upper 1/Lower Grade 3, Right Grade 5 All จำหน่ายทุเลา จำนวนวันนอน 19 วัน นัดติดตาม 2 สัปดาห์ 3) กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลทั้งหมด 12 ข้อ เหมือนกัน 9 ข้อ แตกต่างกัน 3 ข้อ ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย มีการฟื้นฟูสภาพ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม จนสามารถควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

สรุป: กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้ให้การดูแลตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง ระยะจำหน่าย เฝ้าระวังและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มีกระบวนการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับและสามารถจำหน่ายทุเลา กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้

Author Biography

ลลนา รวมธรรม, กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ.

 

References

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29284&deptcode=

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย เมษายน-มิถุนายน 2566; 39(2): 39-46.

โรงพยาบาลยโสธร. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2566.

สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.neurothai.org/images/2012/download/stroke-nurse2007.pdf

Zhou Z, Li J, Yu Y, Li Y, Zhang Y, Liu L, et al. Effect of smoking and folate levels on the efficacy of folic acid therapy in prevention of stroke in hypertensive men. Stroke 2018; 49(1): 114-20. doi: 10.1161/STROKEAHA.117.018273. PubMed PMID: 29273594.

วิทวัส ศิริยงค์. ความชุกโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 มกราคม-มีนาคม 2561; 32(1): 863-70.

วุฒิชัย แป้นทอง, รัตนา สายยศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีณรงค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 มกราคม-เมษายน 2567; 18(1): 193-208.

ศุจิพิชชา จันทรประภาพกุล, แสงเดือน มโยทาร, ศุภชาติ ชมพูนุช, สัญสนีย์ พงษ์ภักดี. อัตราความชุกและสาเหตุของการเกิดโรคสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย กันยายน-ธันวาคม 2561; 17(3): 5-14.

ชลิต จิตเจือจุน. คลินิกปริศนา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ตุลาคม-ธันวาคม 2560; 34(4): 350-1.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill; 1994.

Borschmann KN, Hayward KS. Recovery of upper limb function is greatest early after stroke but does continue to improve during the chronic phase: a two-year, observational study. Physiotherapy 2020; 107: 216-23. doi: 10.1016/j.physio.2019.10.001. PubMed PMID: 32026823.

อภิฤดี พาผล, ชนิดา รำขวัญ, วิจิตรา ปิ่นน้อย. การศึกษาความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาลทหารบก พฤษภาคม-สิงหาคม 2560; 18(ฉบับพิเศษ): 194-201.

Li J, Yuan M, Liu Y, Zhao Y, Wang J, Guo w. Incidence of constipation in stroke patients: systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore) 2017; 96(25): e7225. doi: 10.1097/MD.0000000000007225. PubMed PMID: 28640117.

กฤษดา แสวงดี. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.

Frizzell JP. Acute stroke: pathophysiology, diagnosis, and treatment. AACN Clin Issues 2005; 16(4): 421-40. doi: 10.1097/00044067-200510000-00002. PubMed PMID: 16269890.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-01