การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ไข้เลือดออกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาของการใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก อายุ ตั้งแต่ 1 เดือนถึงต่ำกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างเดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 30 ราย และ 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก และ 2) แบบประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (PEWS) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการวิเคราะห์สถานการณ์ไข้เลือดออก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร และ 3) แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก มีกระบวนการพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสำรวจสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก 2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ 3) การนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 4) ระยะสรุปประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Pair t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ได้แก่ ภาวะ Shock, Prolong Shock และ Fluid Overload ลดลง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.75, S.D. = 0.26) และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลป่วยเด็กไข้เลือดออก ร้อยละ 96.49
สรุป: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกให้มีความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกช้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะแทรกช้อนที่รุนแรง ซึ่งสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้
References
UNICEF. Dengue: How to keep children safe. Advice for families to protect against dengue [Internet]. 2023 [Cited 2025 Apr 18]. Available from: https://www.unicef.org/rosa/stories/dengue-how-keep-children-safe
กรุงเทพธุรกิจ. เฝ้าระวัง “โรคไข้เลือดออก” ปี 64 พบผู้ป่วย 7,720 ราย คาดปี 65 ระบาดรุนแรง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/social/966870
พึงเนตร สฤษดิ์นิรันดร์, ชารียา ธานี, ประภาพร ศรีชัยบาล, วันเพ็ญ เกณฑ์สาคู. ความยากลำบากในการรักษาผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกที่มีความรุนแรง. สรรพสิทธิเวชสาร มกราคม-ธันวาคม 2560; 38(1–3): 53–63.
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายและการประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดในปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1212820211229113331.pdf
โรงพยาบาลยโสธร. สถิติอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ประจำปี พ.ศ. 2564. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.
โรส ภักดีโต, จุไร อภัยจิรรัตน์, พัชมน อันโต. โรคไข้เลือดออกเดงกี่ในเด็ก: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย มกราคม-มิถุนายน 2560; 10(1): 55–65.
อรุณณี วงค์ปันดีด, ชัชวาล วงค์สารี, อาภรณ์ ศรีชัย. ความเหมือนที่แตกต่างในการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก: วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กันยายน-ธันวาคม 2561; 12(3): 124–32.
Monaghan A. Detecting and managing deterioration in children. Pediatr Nurs 2005; 17(1): 32-5. doi: 10.7748/paed2005.02.17.1.32.c964. PubMed PMID: 15751446.
Mandell IM, Bynum F, Marshall L, Bart R, Gold JI, Rubin S. Pediatric Early Warning Score and unplanned readmission to the pediatric intensive care unit. J Crit Care 2015; 30(5): 1090-5. doi: 10.1016/j.jcrc.2015.06.019. PubMed PMID: 26235654.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ: คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2542.
Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed? JAMA 1988; 260(12): 1743–8.
doi: 10.1001/jama.260.12.1743. PubMed PMID: 3045356.
The Joanna Briggs Institute. Reviewers' manual 2014 edition [Internet]. 2014 [Cited 2025 May 1]. Available from: http://joannabriggs.org/assets/docs/sumari/ReviewersManual-The-Systematic-Review-of-Economic-Evaluation-Evidence-2014_v2.pdf
Brouwers MC, Kho ME, Browman GP, Burgers JS, Cluzeau F, Feder G, et al. Appraisal of guideline for research & evaluation II; AGREE II [Internet]. 2017 [Cited 2025 May 1]. Available from: https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2017/12/AGREE-II-Users-Manual-and-23-item-Instrument-2009-Update-2017.pdf
จารุพรรณ ตันอารีย์. ประสิทธิภาพการใช้ Pediatric Early Warning Score: PEWS ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกุมารเวชศาสตร์ กรกฎาคม-กันยายน 2559; 55(3): 196-219.
World Health Organization. Dengue: Guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control. Geneva: WHO Press; 2009.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของยโสธรเวชสาร