ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วย ต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกหมอครอบครัวย่อ

ผู้แต่ง

  • ศิรประภา สิทธาพานิช โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
  • จิราภรณ์ ขอสุข โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลย่อ
  • กาญจนา ไชยมาตร โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโพนสิม
  • มาดี ขันสัมฤทธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมน

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ป่วยเบาหวาน ความรู้การดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เป็นหมอคนที่ 1 ใกล้ตัวในชุมชนและดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถ
ดูแลตนเองได้ การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยงานวิจัยและพัฒนา ระยะที่ 3 ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์1)
เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผู้ป่วยเบาหวานและ อสม. 2) พัฒนาศักยภาพ อสม. ให้สามารถให้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ 3)
ศึกษาผลของศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. และผู้ป่วยเบาหวาน แบบจับคู่ดูแล
จ านวน 102 คู่ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนประชุมกลุ่ม 2) แบบประเมินความรู้อสม. 3) แบบประเมินความรู้และการ
ดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน 4) แบบบันทึกค่า HbA1C ดำเนินการวิจัย เดือนธันวาคม 2564– เดือนพฤศจิกายน 2565
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว า 1) หมอคนที่ 1 หรือ อสม. ตามโครงการ 3 หมอ ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา
ผู้ป่วยเบาหวาน 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับเบาหวานของ อสม. หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญที่ .01
3) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานหลังการจับคู่ดูแลสูง
กว่าก่อนการจับคู่ดูแล อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และ4) ค่าเฉลี่ย HbA1C หลังสิ้นสุดการจับคู่ดูแลต่ำกว่าก่อนการจับคู่ดูแล
อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 อสม. มีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถ กระตุ้น ส่งเสริมและให้กำลังใจให้ผู้ป่วยเบาหวานในการดูแล
ตนเองสุขภาพอย่างยั่งยืน

Author Biography

ศิรประภา สิทธาพานิช, โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

วว. เวชศาสตร์ครอบครัว

References

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค, ธิดารัตน์ ทองหนุน. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวาน. อุบลราชธานี:

อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์; 2562.

ภูเบตร พัฒนากร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจในพยาบาลต่อความรู้และพฤติกรรม

การดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ยโสธรเวชสาร 2565; 24(1): 106-05.

Liu J, et al. Trends in the incidence of diabetes mellitus: results from the Global Burden of

Disease Study 2017 and implications for diabetes mellitus prevention. BMC Public Health

; 20 (1415): 1-12.

Lin X, et al. Global, regional, and national burden and trend of diabetes in 195 countries

and territories: an analysis from 1990 to 2025. Scientific Reports 2020; 10 (14790): 1-11.

Riddle MC and Herman WH. The cost of diabetes cared: an elephant in the room. Diabetes

Care 2018; 41: 929–932.

วรรณี นิธิยานันท์. เบาหวานที่เกิดในวัยรุ่น สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม

สืบบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แรร์ ชูการ์ น้ำตาลพิชิตอ้วน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม

สืบบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/.html.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 3 หมอ 3 มอบ "คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3

คน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. สืบบค้นจาก http://prgroup.hss.moph.go.th/index.php/

multimedia/.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานสถิติโรค NCD ประจำปี 2562-2563. กลุ่มงานควบคุมโรคไม่

ติดต่อ สุขภาพจิต และยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร; 2564.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. Action Planning & Work Prioritizing (เทคนิคการวางแผนปฏิบัติงาน และจัดลำดับ

ความสำคัญของงาน). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก

http://www.thaitrainingzone.com/training/detail/Action-Planning--Work-Prioritizing....html.

ฤทธิพล ไชยบุรี. พัฒนาทุนมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2019; 8(1): 221-

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาศักยภาพ อสม. เป็น อสม. หมอประจำบ้าน.

สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก

https://hss.moph.go.th/HssDepartment/file_reference/20210506935772122.pdf.

สุกัญญา จันทร์อ้วน. ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของ อสม.หมอประจำบ้าน เขตสุขภาพ

ที่4. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก

https://do4.hss.moph.go.th/images/NEWS/thResearch/...pdf.

ทัตติกา ฉัตรชัยพันธ์สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และ สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลผู้เป็นเบาหวานใน

ชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(3): 83-93

ไทย

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06