การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในห้องผ่าตัด, โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 14 คน และผู้ป่วยที่เข้าผ่าตัดโดยเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ คือ 1) โควิด-19 2) วัณโรคปอด 3) งูสวัด 4) สุกใส และ 5) หัด จำนวน 60 คน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) นำรูปแบบไปใช้ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจและโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบประเมินความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดฯ ประเมินคุณภาพเครื่องมือโดย KR-20 ได้ 0.70 (2) แบบประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ งานห้องผ่าตัด ต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ ประเมินคุณภาพเครื่องมือได้ ค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค = 0.81 (4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อระบบบริการ ประเมินคุณภาพเครื่องมือโดย ค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค = 0.86 (5) การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยและผู้ให้บริการ และ (6) ค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบโดย Paired T-Test
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร ประกอบด้วย (1) มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อทางเดินหายใจ (2) Components of S.A.F.E. OR Model (3) การประเมินความเสี่ยงโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจแบบเฉพาะ (4) Line Notify 2) ผลการใช้รูปแบบฯ ประกอบด้วย (1) ด้านผู้ให้บริการ พบว่าหลังการใช้รูปแบบฯ พยาบาลวิชาชีพงาน ห้องผ่าตัด มีความรู้และการปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ งานห้องผ่าตัด ต่อการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อระบบบริการอยู่ในระดับมาก (3) ด้านองค์กร พบว่า ไม่มีการแพร่เชื้อในกลุ่มตัวอย่างทั้งในผู้ป่วยและบุคลากรหลังใช้รูปแบบฯ
References
งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรค์การป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
กรมควบคุมโรค. รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30sep2022/
Gilpin C, Korobitsyn A, Migliori GB, Raviglione MC, Weyer K. The World Health Organization standards for tuberculosis care and management. Eur Respir J 2018; 51(3): 1800098. doi: 10.1183/13993003.00098-2018. PubMed PMID: 29567724.
Wang CC, Prather KA, Sznitman J, Jimenez JL, Lakdawala SS, Tufekci Z, et al. Airborne transmission of respiratory viruses. Science 2021; 373(6558): eabd9149. doi: 10.1126/science.abd9149. PubMed PMID: 34446582.
Ahmad I. Perioperative management of patients with pulmonary tuberculosis in the operating room: A systematic review. J Clin Anesth 2019; 58: 100-7.
Cheng VCC, Wong SC, Chen JHK, Yip CCY, Chuang VWM, Tsang OTY, et al. Escalating infection control response to the rapidly evolving epidemiology of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) due to SARS-CoV-2 in Hong Kong. Infect Control Hosp Epidemiol 2020; 41(5): 493-8. doi: 10.1017/ice.2020.58. PubMed PMID: 32131908.
Nakamura Y. Evaluation of the risk management during measles outbreak in the operating room: A case report. Journal of Infection Prevention 2018; 19(6): 270-276.
Johnson S. Perioperative management for patients with varicella-zoster virus and herpes zoster: A comprehensive protocol for the COVID-19 era. American Journal of Infection Control 2021; 49(6): 792-7.
Chen X, Liu Y, Gong Y, Guo X, Zuo M, Li J, et al. Perioperative Management of Patients Infected with the Novel Coronavirus: Recommendation from the Joint Task Force of the Chinese Society of Anesthesiology and the Chinese Association of Anesthesiologists. Anesthesiology 2020; 132(6): 1307-16. doi: 10.1097/ALN.0000000000003301. PubMed PMID: 32195699.
ห้องผ่าตัด. ข้อมูลสถิติการให้บริการผ่าตัด ปี 2563–2565. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/
Covid_Health/Attach/25650105175718PM_แนวทางhomwlso.pdf
พิมพา เชิ้ญผึ้ง. การศึกษาแนวทางการปฏิบัติในการเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสมาคมนักวิจัย เมษายน-มิถุนายน 2565; 27(2): 1–17.
ธีรา พงษ์พานิช, ธนัญญาณ์ หล่อกิตติ์ชนม, สุดาวัลย์ มากนวล. การพัฒนารูปแบบระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อในงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2563; 30(1): 174–89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของยโสธรเวชสาร