การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • ชลภัสสรณ์ วิวรรณพงษ์ โรงพยาบาลยโสธร

บทคัดย่อ

การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดทางหน้าท้องและการได้รับยาระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด ส่งผลให้สำไส้หยุดเคลื่อนไหวหรือ
เคลื่อนไหวลดลง เกิดภาวะท้องอืดหลังผ่าตัด การพัฒนารูปแบบการพยาบาลอย่างมีแบบแผนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพเร็วขึ้น
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง และ 2)
เพื่อประเมินผลรูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง วิธีการศึกษา:
การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการ 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้ และ
4) ประเมินผล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในช่วงเดือน
กุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มก่อนใช้รูปแบบ 30 คน และหลังใช้รูปแบบ 30 คน 2)
พยาบาลวิชาชีพ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการ: 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด ตรวจสอบ
คุณภาพความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึก
ข้อมูลผู้ป่วย (2) แบบบันทึกการติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย (3) แบบบันทึกวันนอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: สรุปได้ดังนี้1) รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง
ประกอบด้วย โปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง และคู่มือมาตรฐาน
การพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันท้องอืดหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้อง และ 2) ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่ง
แบบเปิด ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า (1) ความรุนแรงของอาการท้องอืดก่อนใช้รูปแบบอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ
76.70 หลังใช้รูปแบบไม่เกิดอาการท้องอืดร้อยละ 100 (2) การเคลื่อนไหวของลำไส้หลังผ่าตัด ประกอบด้วย ระยะเวลา
ความรู้สึกหิวพบว่าก่อนใช้รูปแบบค่าเฉลี่ย 2.29 หลังใช้รูปแบบระยะเวลาเฉลี่ยคือ 1.06 ระยะเวลาการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้ง
แรกพบว่าหลังการใช้รูปแบบระยะเวลาเฉลี่ยลดลงจาก 6.00 ชั่วโมง เป็น 4.70 ชั่วโมง ระยะเวลาการเรอหลังการใช้รูปแบบ
พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยลดลงจาก 6.00 ชั่วโมง เป็น 5.10 ชั่วโมง ระยะเวลาการผายลมหลังการใช้รูปแบบพบว่าระยะเวลาเฉลี่ย
ลดลงจาก 6.00 ชั่วโมง เป็น 5.30 ชั่วโมง ระยะเวลาการถ่ายอุจจาระ หลังการใช้รูปแบบพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยลดลงจาก 48.00
ชั่วโมง เป็น 30.00 ชั่วโมง และ (3) วันนอนเฉลี่ยลดลงจาก 3.60 วัน เป็น 2.20 วัน ผลลัพธ์ด้านบุคลากร พบว่า (1) ความพึง
พอใจของบุคลากรอยู่ในระดับสูงมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และ (2) มีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยร้อยละ 100
สรุป: รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดหน้าท้องทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย
สามารถป้องกันภาวะท้องอืดซึ่งเป็นอาการรบกวนที่สำคัญในผู้ป่วยหลังผ่าตัดและบุคลากรทางการพยาบาลเกิดผลลัพธ์คือความ
พึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาล เกิดคู่มือมาตรฐานในการพยาบาล

References

มาวิน วงศ์สายสุวรรณ. Appendix ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย; 2553.

พรรณทิพย์ เกียรติสิน, สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ. การฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง:

การสังเคราะห์วรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25(2): 87-9.

กนกวรรณ บุญวิทยา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องอืดภายหลังผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องแบบไม่ฉุกเฉินใน

โรงพยาบาลรามาธิบดี[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

เนาวรัตน์ สมศรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลภาวะท้องอืดสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วย

ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาล

ผู้สูงอายุ]. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

หอผู้ป่วยนรีเวชศัลยกรรมรวม โรงพยาบาลยโสธร. รายงานสถิติการรับบริการผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งใน

โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร; 2562.

นุชจรี ธรรมพันธ์. ผลของโปรแกรมลดอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติงแบบเปิดทางหน้าท้อง [วิทยานิพนธ์

ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

วิริยา ศิลา. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการของผู้ป่วยนรีเวชหลังผ่าตัดทางหน้าท้องต่ออาการปวดหลังผ่าตัดและ

อาการท้องอืด ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหา

บัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือการประเมิน

คุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of guideline for research & evaluation

II: AGREE II). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

ศิริพรรณ ภมรพล. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการลุกเดินจากเตียงโดยเร็วหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาล

สภากาชาดไทย 2559; 9(2): 14-23.

Lin JH, Whelan RL, Sakellarios NE, Cekic V, Forde KA, Bank J, et al. Prospective study of

ambulation after open and laparoscopic colorectal resection. Surg Innov 2009; 16(1): 16-20. doi:

1177/1553350608330478. PubMed PMID: 19124446.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04