ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกหมอครอบครัวย่อ

ผู้แต่ง

  • ศิรประภา สิทธาพานิช โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
  • จิราภรณ์ ขอสุข โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลย่อ
  • กาญจนา ไชยมาตร โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโพนสิม
  • มาดี ขันสัมฤทธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมน

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 ที่อยู่ในชุมชนจะทำให้ อสม.ดูแลผู้ป่วย
เบาหวานให้สามารถดูแลตนเองได้ การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผู้ป่วย
เบาหวานและ อสม. 2) พัฒนาศักยภาพ อสม. ให้สามารถดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ 3) ศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการ
ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. และผู้ป่วยเบาหวาน
แบบจับคู่ดูแล จำนวน 102 คู่ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนประชุมกลุ่ม 2) แบบประเมินความรู้ อสม. 3) แบบประเมินความรู้และ
การดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน 4) แบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ดำเนินการวิจัย เดือนมีนาคม–เดือน
พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบวา 1) หมอคนที่ 1 หรือ อสม. ตามโครงการ 3 หมอ ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผู้ป่วยเบาหวาน
2) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับเบาหวานของ อสม. หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 3) คะแนนเฉลี่ยความรู้
เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานหลังการจับคู่ดูแลสูงกว่าก่อนการจับคู่ดูแล อย่างมี
นัยสำคัญที่ .01 และค่าเฉลี่ย HbA1c หลังสิ้นสุดการจับคู่ดูแลต่ำกว่าก่อนการจับคู่ดูแล อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และ 4) ประสิทธิผล
ของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ประเมินจากคะแนนความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ค่า E1/E2 เท่ากับ 80/80 ซึ่งการวิจัยนี้ทำให้ อสม.
มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยเบาหวานในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างยั่งยืน
คําสําคัญ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ผู้ป่วยเบาหวาน, ความรู้,การดูแลสุขภาพ

References

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค, ธิดารัตน์ ทองหนุน. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวาน. อุบลราชธานี: อุบลกิจ

ออฟเซทการพิมพ์; 2562.

ภูเบตร พัฒนากร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจในพยาบาลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแล

สุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ยโสธรเวชสาร 2565; 24(1): 106-05.

Liu J, Ren ZH, Qiang H, Wu J, Shen M, Zhang L, et al. Trends in the incidence of diabetes mellitus:

results from the Global Burden of Disease Study 2017 and implications for diabetes mellitus

prevention. BMC Public Health 2020; 20(1): 1415. doi: 10.1186/s12889-020-09502-x. PubMed PMID:

Lin X, Xu Y, Pan X, Xu J, Ding Y, Sun X, et al. Global, regional, and national burden and trend of

diabetes in 195 countries and territories: an analysis from 1990 to 2025. Sci Rep 2020; 10(1):

doi: 10.1038/s41598-020-71908-9.PubMed PMID: 32901098.

Riddle MC, Herman WH. The cost of diabetes care-an elephant in the room. Diabetes Care 2018;

(5): 929–32. doi: 10.2337/dci18-0012. PubMed PMID: 29678864.

วรรณี นิธิยานันท์. โรคเบาหวานในวัยรุ่น สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ

[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031

ThaiHealth Official. แรร์ ชูการ์ น้ำตาลพิชิตอ้วน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=240840

คลังสื่อประชาสัมพันธ์. 3 หมอ “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน”. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://prgroup.hss.moph.go.th/article/1175-3-หมอ-“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว-3-คน”

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานสถิติโรค NCD

ประจำปี 2562-2563. ยโสธร; 2564.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. Action Planning & Work Prioritizing (เทคนิคการวางแผนปฏิบัติงาน และจัดลำดับ

ความสำคัญของงาน). THAI TRAINING ZONE [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.thaitrainingzone.com/training/detail/Action-Planning--Work-Prioritizing-...html

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

ฤทธิพล ไชยบุรี. พัฒนาทุนมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2562; 8(1): 221-36.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน

ปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564: 22-3.

สุกัญญา จันทร์อ้วน. ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของ อสม.หมอประจำบ้าน เขตสุขภาพที่ 4.

ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 4 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://do4.hss.moph.go.th/images/NEWS/thResearch/...pdf.

ทัตติกา ฉัตรชัยพันธ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัคร

สาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลผู้เป็นเบาหวานในชุมชน. วารสาร

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(3): 83-93.

รักชนก คชไกร, เวหา เกษมสุข, จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข

ในการเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง ต่อระดับน้าตาลในเลือดของผู้เป็น

เบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2559; 17(1): 141-7

จตุภูมิ นีละศรี, อรพิมล ธนภูวนนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำาตาลสะสม HbA1c ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ประเภทที่ 2 โรงพยาบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39(4): 714-28.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2556; 5(1): 7-

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04