การศึกษาเมลิออยโดสิส ในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • รอยพิมพ์ โสภาพงษ์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

เมลิออยโดสิส, การรักษาล้มเหลว, การติดเชื้อระบบต่างๆ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน จากรายงานการเฝ้าระวัง
โรคเมลิออยโดสิส จังหวัดยโสธร พบว่า มีอัตราป่วยค่อนข้างสูง มีหลายครั้งที่ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะรักษาที่เหมาะสมแล้ว แต่
ผลการรักษายังคงล้มเหลว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดผลการรักษาโรคเมลิออยโดสิสล้มเหลว ในโรงพยาบาลยโสธร
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) กลุ่มของประชากรคือ เก็บข้อมูล
จากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธร ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมลิออยโดสิส โดยมีหลักฐานการ
วินิจฉัยจากการตรวจพบเชื้อทางจุลชีววิทยา รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญและหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมตั้งแต่วันที่
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยข้อมูลจะถูกนํามาวิเคราะห์ทางสถิติ Logistic regression เพื่อหาปัจจัย
ดังกล่าว กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมลิออยโดสิสจากการตรวจพบเชื้อทาง
จุลชีววิทยา 98 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 4 ราย มี 2 ราย เสียชีวิตหลังการรักษาน้อยกว่า 48 ชั่วโมงจึงถูกคัดออกจากการศึกษา
เหลือผู้ป่วยเข้าการศึกษาทั้งหมด 94 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 64.89 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่มีผลการรักษาล้มเหลว กับกลุ่มที่มี
ผลการรักษาดีพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อ (ร้อยละ 59.52 และร้อยละ 9.6) มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อตั้งแต่แรกรับ (ร้อย
ละ 42.86 และร้อยละ 15.4) และได้รับยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม (ร้อยละ 11.9 และร้อยละ 0.0) ในกลุ่มที่รักษาล้มเหลวสูงกว่า
กลุ่มที่มีผลการรักษาดีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.004, p=0.017) และได้รับยา Ceftazidime น้อยกว่ากลุ่มที่มี
ผลการรักษาดีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ร้อยละ 76.19 และร้อยละ 92.3, p=0.033) โรคประจำตัวของผู้ป่วยหรือการติดเชื้อ
ในกระแสเลือดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติจากการทำ Multivariate analysis พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อการ
รักษาล้มเหลวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้แก่ มีปอดอักเสบติดเชื้อ (Adjusted OR=23.99, 95%CI=5.96-96.48, p<0.001),
มีการติดเชื้อของกระดูกและข้อ (Adjusted OR=23.76, 95%CI=3.34-169.04, p=0.002), ติดเชื้อในช่องท้อง (Adjusted
OR=14.05, 95%CI=2.19-89.96, p=0.005) และมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อตั้งแต่แรกรับ ( Adjusted OR=8.38,
95%CI=2.04-34.40, p=0.003)
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผลการรักษาโรคเมลิออยโดสิสล้มเหลว ประกอบด้วย ปอดอักเสบติดเชื้อ, ติดเชื้อของ
กระดูกและข้อ, ติดเชื้อในช่องท้องและการมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อตั้งแต่แรกรับ

References

Wiersinga WJ, Currie BJ, Peacock SJ. Melioidosis. N Engl J Med 2012; 367(11): 1035-44.

doi: 10.1056/NEJMra1204699. PubMed PMID: 22970946.

Whitmore A, Krishnasmami CS. An account of the discovery of a hitherto undescribed Infective

disease occurring among the population of Rangoon. Indian Med Gaz 1912; 47: 262-7.

Jittivej J, Busapavanich S, Chawanasai A. Melioidosis: report of 1 Thai case. VithayasarnSenarak

; 8: 11-8.

Vuddhakul V, Tharavichitkul P, Na-Ngam N, Jitsurong S, Kunthawa B, Noimay P, et al. Epidemiology

of Burkholderia pseudomallei in Thailand. Am J Trop Med Hyg 1999; 60(3): 458-61. doi:

4269/ajtmh.1999.60.458. PubMed PMID: 10466977.

Currie BJ, Fisher DA, Anstey NM, Jacups SP. Melioidosis: acute and chronic disease, relapse and reactivation. Trans R Soc Trop Med Hyg 2000; 94(3): 301-4. doi: 10.1016/s0035-9203(00)90333-x.

PubMed PMID: 10975006.

Suputtamongkol Y, Chaowagul W, Chetchotisakd P, Lertpatanasuwun N, Intaranongpai S,

Ruchutrakool T, et al. Risk factors for melioidosis and bacteremic melioidosis. Clin Infect Dis 1999;

(2): 408-13. doi: 10.1086/520223. PubMed PMID: 10476750.

Limmathurotsakul D, Peacock SJ. Melioidosis: a clinical overview. Br Med Bull 2011; 99: 125-39.

doi: 10.1093/bmb/ldr007. PubMed PMID: 21558159.

เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์. โรคเมลิออยโดสิส. นนทบุรี: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2547. หน้า 188

Yee KC, Lee MK, Chua CT, Phthucheary SD. Melioidosis, the great mimicker: a report of 10 cases

from Malaysia. J Trop Med Hyg 1988; 91(5): 249-54. PubMed PMID: 3184245.

Poe RH, Vassallo CL, Domm BM. Melioidosis: the remarkable imitator. Am Rev Respir Dis 1971;

(3): 427-31. doi: 10.1164/arrd.1971.104.3.427. PubMed PMID: 5098675.

White NJ, Dance DA, Chaowagul W, Wattanagoon Y, Wuthiekanun V, Pitakwatchara N. Halving of

mortality of severe melioidosis by ceftazidime. Lancet 1989; 2(8665): 697-701. doi: 10.1016/s0140-

(89)90768-x. PubMed PMID: 2570956.

Sookpranee M, Boonma P, Susaengrat W, Bhuripanyo K, Punyagupta S. Multicenter prospective

randomized trial comparing ceftazidime plus co-trimoxazole with chloramphenicol plus

doxycycline and co-trimoxazole for treatment of severe melioidosis. Antimicrob Agents

Chemother 1992; 36(1): 158-62. doi: 10.1128/AAC.36.1.158. PubMed PMID: 1590682.

Stephens DP, Thomas JH, Ward LM, Currie BJ. Melioidosis Causing Critical Illness: A Review of 24

Years of Experience From the Royal Darwin Hospital ICU. Crit Care Med 2016; 44 (8): 1500-5.

doi: 10.1097/CCM.0000000000001668. PubMed PMID: 26963328.

Dance D. Treatment and prophylaxis of melioidosis. Int J Antimicrob Agents 2014; 43(4): 310-8. doi:

1016/j.ijantimicag.2014.01.005. PubMed PMID: 24613038.

Currie BJ. Melioidosis: evolving concepts in epidemiology, pathogenesis, and treatment. Semin

Respir Crit Care Med 2015; 36(1): 111-25. doi: 10.1055/s-0034-1398389. PubMed PMID: 25643275.

Chierakul W, Anunnatsiri S, Short JM, Maharjan B, Mootsikapun P, Simpson AJ, et al. Two

randomized controlled trials of ceftazidime alone versus ceftazidime in combination with

trimethoprim-sulfamethoxazole for the treatment of severe melioidosis. Clin Infect Dis 2005; 41(8):

-13. doi: 10.1086/444456. PubMed PMID: 16163628.

Currie BJ, Fisher DA, Howard DM, Burrow JNC, Lo D, Selva-nayagum S, et al. Endemic Melioidosis in

Tropical Northern Australia: A 10-Year Prospective Study and Review of the Literature. Clin Infect

Dis 2000; 31(4): 981-6. doi: 10.1086/318116.

Churuangsuk C, Chusri S, Hortiwakul T, Charernmak B, Silpapojakul K. Characteristics, clinical

outcomes and factors influencing mortality of patients with melioidosis in southern Thailand: A 1

-year retrospective study. Asian Pac J Trop Med 2016; 9(3): 256-60. doi:

1016/j.apjtm.2016.01.034. PubMed PMID: 26972397.

Chaowagul W, Suputtamongkol Y, Dance DA, Rajchanuvong A, Pattara-arechachai J, White NJ.

Relapse in melioidosis: incidence and risk factors. J Infect Dis 1993; 168(5): 1181-5. PubMed PMID:

Suputtamongkol Y, Chaowagul W, Chetchotisakd P, Lertpatanasuwun N, Intaranongpai S,

Ruchutrakool T, et al. Risk factors for melioidosis and bacteremic melioidosis. Clin Infect Dis 1999;

(2): 408-13.

Suputtamongkol Y, Dance DA, Chaowagul W, Wattanagoon Y, Wuthiekanun V, White NJ.

Amoxycillin-clavulanic acid treatment of melioidosis. Trans R Soc Trop Med Hyg 1991; 85(5): 672-5.

doi: 10.1016/0035-9203(91)90391-b. PubMed PMID: 1781006.

Bhengsri S, Baggett HC, Jorakate P, Kaewpan A, Prapasiri P, Naorat S, et al. Incidence of bacteremic

melioidosis in eastern and northeastern Thailand. Am J Trop Med Hyg 2011; 85(1): 117-20. doi:

4269/ajtmh.2011.11-0070. PubMed PMID: 21734135.

Currie BJ, Ward L, Cheng AC. The epidemiology and clinical spectrum of melioidosis: 540 cases

from the 20 year Darwin prospective study. PLoS Negl Trop Dis 2010; 4(11): e900.

doi: 10.1371/journal.pntd.0000900. PubMed PMID: 21152057.

Limmathurotsakul D, Wongratanacheewin S, Teerawattanasook N, Wongsuvan G, Chaisuksant S,

Chetchotisakd P, et al. Increasing incidence of human melioidosis in Northeast Thailand. Am J

Trop Med Hyg 2010; 82(6): 1113-7. doi: 10.4269/ajtmh.2010.10-0038. PubMed PMID: 20519609.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04