ผลการรักษาภาวะโลหิตจางโดยให้ธาตุเหล็กในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุอาภา พันสาย โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การขาดธาตุเหล็ก, โรคโลหิตจาง, ปริมาณ Erythropoietin, เฟอร์ริติน, ความอิ่มตัวของทรานเฟอร์ริน, ฟอกเลือด

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะโลหิตจางในโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด โดยภาวะ
ดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ภาวะขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยยังคงมี
ภาวะซีดอยู่ถึงแม้จะได้รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแล้วก็ตามและพบว่าการให้เหล็กทางหลอดเลือดดำสามารถเพิ่มระดับ
ความเข้มข้นเลือด ลดปริมาณยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อย่างไรก็ตามข้อบ่งชี้
ในการให้เหล็กรวมถึงการบริหารการให้ยายังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ การศึกษานี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงผลของ
การให้ธาตุเหล็กทางเส้นเลือดต่อภาวะซีด ปริมาณของยา กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดและค่าใช้จ่ายในการรักษาในผู้ป่วยไตวาย
เรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดอย่าง
สม่ำเสมอในโรงพยาบาลยโสธรและศึกษาดูประสิทธิภาพของวิธีการรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในผู้ป่วยโรคไต
วายเรื้อรังโดยการให้เหล็กทางเส้นเลือด
รูปแบบการศึกษา : การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล (Prospective analytic
studies/ Cohort studies)
วัสดุและวิธีการ: กลุ่มประชากร คือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดในโรงพยาบาลยโสธร ที่มีภาวะโลหิตจางที่รับไว้ใน
คลินิกผู้ป่วยไตเทียม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ศึกษาในรูปแบบการสุ่มตัวอย่างในผู้ป่วย
ไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จากศูนย์ไตเทียม จะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ต้องการระดับเฟอรี
ตินในเลือด 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร และ 2) กลุ่มที่ต้องการระดับระดับเฟอรีตินในเลือด 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
โดยจะมีช่วงเข้าร่วมวิจัยที่ 8 สัปดาห์ โดยในกลุ่มที่ต้องการระดับเฟอรีตินในเลือด 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร จะได้รับยา
เหล็กขนาด 100 มิลลิกรัมทุกสัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ (ขนาดยาทั้งหมด 600 มิลลิกรัม) เพื่อให้มีระดับเฟอรีตินในเลือด
500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ก่อนจะเข้าสู่ระยะติดตามการรักษาในขณะที่ในกลุ่มที่ต้องการระดับเฟอรีตินในเลือด 200-400
นาโนกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับยาเหล็กเนื่องจากมีระดับเฟอรีตินในเลือด 200-400 นาโนกรัม/
มิลลิลิตร ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเข้าร่วมวิจัย หลังจากนั้นจะมีการติดตามการรักษาทุก 3 เดือน เป็นเวลา 6 เดือน โดยติดตามการ
เปลี่ยนแปลงของระดับธาตุเหล็ก (ระดับ Serum ferritin, Serum iron, Total iron binding capacity (TIBC), Transferrin
saturation) ระดับความเข้มข้นเลือดและปริมาณการให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 588 ราย ได้รับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองก่อนเข้าร่วมงานวิจัย ผู้ป่วยจำนวน 360 ราย ถูกคัด
ออกเนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย ผู้ป่วยจำนวน 228 ราย ที่เข้าเกณฑ์ถูกสุ่มเพื่อเข้ากลุ่มการศึกษา โดยมีจำนวน 114 ราย
ที่ถูกสุ่มเข้ากลุ่มที่รักษาระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร และ 114 รายที่ถูกสุ่มเข้ากลุ่มที่รักษาระดับเฟอ
รีตินในเลือดที่ 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร โดยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผล
การศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด ปริมาณเหล็กสะสมในร่างกาย ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด ปริมาณยาเหล็กที่
ได้รับที่เวลาเข้าร่วมวิจัยพื้นฐานที่ 3 เดือนและ 6 เดือน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Hb 9.4±1.4 กรัมต่อเดซิลิตร
ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด 7,105.1±2,279.1 ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
เทียบกับ Hb 10.0±1.7 กรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด 6,262.5±2,467.0 ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีติน
ในเลือดที่ 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตรที่ช่วงเวลาเข้าร่วมวิจัย) (Hb 8.9±1.3 กรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด
7,331.2±2,118.1 ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เทียบกับ Hb 9.8±1.8 กรัม
ต่อเดซิลิตร ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด 6,347.1±2,663.1 ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 500-700 นาโน
กรัม/มิลลิลิตรที่ช่วงเวลาพื้นฐาน) (Hb 9.0±1.3 กรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณยาเหล็ก 318.8±78.8 กรัมต่อ 3 เดือน ปริมาณยา กระตุ้นเม็ดเลือด 6,946.6±1,837.1 ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เทียบกับ
Hb 9.8±1.6 กรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณยาเหล็ก 595.3±216.1 กรัมต่อ 3 เดือน ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด 6,587.4±2,956.1
ยูนิตต่อสัปดาห์ ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตรที่ช่วงเวลา 3 เดือน) (Hb 9.4±1.4 กรัมต่อ
เดซิลิตร ในกลุ่มระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตรเทียบกับ Hb 10.1±1.4 กรัมต่อเดซิลิตร ในกลุ่ม
ระดับเฟอรีตินในเลือดที่ 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตรที่ช่วงเวลา 6 เดือน) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการวิเคราะห์เพื่อดู
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในแต่ละกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันของการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 3 เดือน
หลังให้ยา (Hb 2.8±13.0% เปรียบเทียบกับ Hb 1.6±15.1%, P=0.625, ปริมาณยากระตุ้นเม็ดเลือด -1.9±16% เปรียบเทียบ
กับ 8.1±30.4%, p=0.099 ) สรุปการให้เหล็กทางหลอดเลือดเพื่อรักษาระดับเฟอรีตินที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตรและ
500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร สามารถรักษาระดับความเข้มข้นของเลือด ปริมาณยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดไม่แตกต่างกัน ในขณะ
ที่กลุ่มที่ได้ยาเหล็กทางหลอดเลือดเพื่อรักษาระดับเฟอรีตินที่ 200-400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร จะได้รับยาเหล็กเฉลี่ยประมาณ
100 มิลลิกรัมต่อเดือน ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาเหล็กทางหลอดเลือดเพื่อรักษาระดับเฟอรีตินที่ 500-700 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
จะได้รับยาเหล็กเฉลี่ยประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อเดือน ทำให้เชื่อว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมน่าจะต้องมี
การให้เหล็กแบบต่อเนื่องเพื่อคงระดับความเข้มข้นของเลือดและระดับเหล็กสะสมในเลือด โดยจากข้อมูลของงานวิจัยนี้ผู้ป่วย
ควรจะได้รับยาเหล็กทางหลอดเลือดอย่างน้อยเดือนละ 100 มิลลิกรัม
สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาทำให้เชื่อว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมน่าจะต้องมีการให้เหล็ก
แบบต่อเนื่องเพื่อคงระดับความเข้มข้นของเลือดและระดับเหล็กสะสมในเลือด โดยจากข้อมูลของงานวิจัยนี้ผู้ป่วยควรจะได้รับ
ยาเหล็กทางหลอดเลือดอย่างน้อยเดือนละ 100 มิลลิกรัม
คำสำคัญ: การขาดธาตุเหล็ก, โรคโลหิตจาง, ปริมาณ Erythropoietin, เฟอร์ริติน, ความอิ่มตัวของทรานเฟอร์ริน, ฟอกเลือด

References

Fishbane S. Anemia and cardiovascular risk in the patient with kidney disease. Heart Fail Clin 2008;

(4): 401-10. doi: 10.1016/j.hfc.2008.03.005. PubMed PMID: 18760752.

Fishbane S, Pollack S, Feldman HI, Joffe MM. Iron indices in chronic kidney disease in the National

Health and Nutritional Examination Survey 1988-2004. Clin J Am Soc Nephrol 2009; 4(1): 57-61.

doi: 10.2215/CJN.01670408. PubMed PMID: 18987297.

Gotloib L, Silverberg D, Fudin R, Shostak A. Iron deficiency is a common cause of anemia in

chronic kidney disease and can often be corrected with intravenous iron. J Nephrol 2006; 19(2):

-7. PubMed PMID: 16736414.

Sakiewicz P, Paganini E. The use of iron in patients on chronic dialysis: mistake and

misconceptions. J Nephrol 1998; 11(1): 5-15. PubMed PMID: 9561479.

Zumbrennen-Bullough K, Babitt JL. The iron cycle in chronic kidney disease (CKD): from genetics

and experimental models to CKD patients. Nephrol Dial Transplant 2014; 29(2): 263-73. doi:

1093/ndt/gft443. PubMed PMID: 24235084.

Hsu CY, McCulloch CE, Curhan GC. Epidemiology of anemia associated with chronic renal

insufficiency among adults in the United States: results from the Third National Health and

Nutrition Examination Survey. J Am Soc Nephrol 2002; 13(2): 504-10. doi: 10.1681/ASN.V132504.

PubMed PMID: 11805181.

McFarlane SI, Chen SC, Whaley-Connell AT, Sowers JR, Vassalotti JA, Salifu MO, et al. Prevalence

and associations of anemia of CKD: Kidney Early Evaluation Program (KEEP) and National Health

and Nutrition Examination Survey (NHANES) 1999-2004. Am J Kidney Dis 2008; 51(4 Suppl 2): S46-

doi: 10.1053/j.ajkd.2007.12.019. PubMed PMID: 18359408.

Ebben JP, Gilbertson DT, Foley RN, Collins AJ. Hemoglobin level variability: associations with

comorbidity, intercurrent events, and hospitalizations. Clin J Am Soc Nephrol 2006; 1(6): 1205-10.

doi: 10.2215/CJN.01110306. PubMed PMID: 17699349.

Portolés J, López-Gómez JM, Aljama P. A prospective multicentre study of the role of anaemia as

a risk factor in haemodialysis patients: the MAR Study. Nephrol Dial Transplant 2007; 22(2): 500-7.

doi: 10.1093/ndt/gfl558. PubMed PMID: 17023492.

KDOQI. KDOQI Clinical Practice Guidelines and Clinical Practice Recommendations for Anemia in

Chronic Kidney Disease. Am J Kidney Dis 2006; 47(5 Suppl 3): S11-145. doi:

1053/j.ajkd.2006.03.010. PubMed PMID: 16678659.

Worwood M. Laboratory determination of iron status in Iron metabolism in health and disease. In:

Brock JH, Halliday JW, Pippard MJ, Powell LW, eds. London: Saunders; 2019: 449-76.

Gillespie RS, Wolf FM. Intravenous iron therapy in pediatric hemodialysis patients: a meta-analysis.

Pediatr Nephrol 2004; 19(6): 662-6. doi: 10.1007/s00467-004-1421-4. PubMed PMID: 15052462.

Rozen-Zvi B, Gafter-Gvili A, Paul M, Leibovici L, Shpilberg O, Gafter U. Intravenous versus oral iron

supplementation for the treatment of anemia in CKD: systematic review and meta-analysis. Am J

Kidney Dis 2008; 52(5): 897-906. doi: 10.1053/j.ajkd.2008.05.033. PubMed PMID: 18845368.

Albaramki J, Hodson EM, Craig JC, Webster AC. Parenteral versus oral iron therapy for adults and

children with chronic kidney disease. Cochrane Database Syst Rev 2012; 1: CD007857. doi:

1002/14651858.CD007857.pub2. PubMed PMID: 22258974.

Coyne DW, Kapoian T, Suki W, Singh AK, Moran JE, Dahl NV, et al. Ferric gluconate is highly

efficacious in anemic hemodialysis patients with high serum ferritin and low transferrin saturation:

results of the Dialysis Patients' Response to IV Iron with Elevated Ferritin (DRIVE) Study. J Am Soc

Nephrol 2007; 18(3): 975-84. doi: 10.1681/ASN.2006091034. PubMed PMID: 17267740.

Kapoian T, O'Mara NB, Singh AK, Moran J, Rizkala AR, Geronemus R, et al. Ferric gluconate reduces

epoetin requirements in hemodialysis patients with elevated ferritin. J Am Soc Nephrol 2008;

(2):

-9. doi: 10.1681/ASN.2007050606. PubMed PMID: 18216316.

Susantitaphong P, Alqahtani F, Jaber BL. Efficacy and Safety of Parenteral Iron Therapy for

functional or Relative Iron Deficiency Anemia in Hemodialysis Patients: A Meta-Analysis. Am J

Nephrol 2014; 39(2): 130-41. doi: 10.1159/000358336. PubMed PMID: 24513913.

คณะอนุกรรมการลงทะเบียนการรักษาทดแทนไต (TRT). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563

(THAILAND RENAL REPLACEMENT THERAPY YEAR 2020). กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2563.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04