ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออกของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • นงนุช ตันติวัฒนเสถียร โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออกของบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน
โรงพยาบาลยโสธร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของบุคลากรโรงพยาบาลยโสธร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ
การตัดสินใจลาออกของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 320 คน เก็บข้อมูลทุกตำแหน่งที่ทำงานในโรงพยาบาลยโสธร
วิธีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ (Frequency distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson
product moment correlation)
ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.9 มีอายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 30.0
ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 61.9 ประเภทการจ้างงานส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ร้อยละ 52.8 ตำแหน่ง
ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งอื่นๆ ร้อยละ 56.6 มีรายได้อยู่ในช่วง 10,001–30,000 บาท ร้อยละ 44.1 ระยะเวลาปฏิบัติงาน 1–10 ปี
ร้อยละ 46.6 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดยโสธร ร้อยละ 82.8 และมีสถานภาพสมรส ร้อยละ 53.1
สรุป ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศและอายุ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประเภทการจ้างงาน รายได้ และ
ระยะเวลาปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง ภูมิลำเนา และสถานภาพการ
สมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออกของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลยโสธร
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันมีค่าเป็นบวกแสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและพบว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโรงพยาบาล ได้แก่ ปัจจัยด้านความมั่นคงและโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน, ปัจจัยด้าน
นโยบายและการบริหารงานของบุคลากร และปัจจัยด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เกื้อกูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 และนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ดาวเดือน โลหิตปุระ, ชัยวัฒน์ สมศรี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัด

ลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 2561; 28(1): 168-78.

ชูเกียรติ จากใจชน, นัยนา จันจิระสกุล, จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์, ทรงวุฒิ บุริมจิตต์, ศรีสมร สินทับ. ปัจจัยส่วน

บุคคลและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2560; 12(42): 45-56.

จิรัชยา เจียวก๊ก, วันชัย ธรรมสัจการ, ปรียา แก้วพิมล. การคงอยู่และความตั้งใจลาออกจากงานของพยาบาลวิชาชีพ

ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA DEVELOPMENT JOURNAL 2557;

(3): 110-44.

ธัญนาฏ ญาณพิบูลย์, อารีย์ นัยพินิจ. แนวทางการธำรงรักษาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

จำกัด (มหาชน). วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(2): 21-34.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลยโสธร. ข้อมูลสถิติการลาออกของบุคลากรโรงพยาบาลยโสธร ปี 2560–2564.

ยโสธร; 2565.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-04