การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, โรคปอดอักเสบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ดำเนินการระหว่าง 6 มกราคม 2565 – 31 ตุลาคม 2565 ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ (1) ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 56 คน และผู้ดูแลเด็ก 56 คน (2) พยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบและการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกกฤติ PEWS (2) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาล ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกตัวชี้วัด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ 0.81 (3) แบบวัดความรู้ของบุคลากร มีค่าความยากง่ายรวมเท่ากับ 0.77 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย ทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ ได้ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test
ผลการศึกษา : 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ประกอบด้วย (1) แผนการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ (2) โปรแกรมการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคปอดอักเสบของผู้ดูแลเด็ก (3) การคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง (PEWS) และ (4) โปรแกรมการวางแผนการจำหน่าย โดยใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย (4.1) การประเมินปัญหาและความต้องการการดูแลภายหลังการจำหน่าย (4.2) การวินิจฉัยปัญหาภายหลังการดูแลภายหลังจำหน่าย (4.3) การกำหนดแผนการจำหน่ายตาม D-Method (4.4) การปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย และ (4.5) การประเมินผล
2) ผลลัพธ์ของรูปแบบฯ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.73, S.D. = 0.15) และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแล อยู่ช่วงร้อยละ 91.07 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ จำนวนครั้งของย้าย ICU โดยไม่ได้วางแผน ภาวะการหายใจล้มเหลว และการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วันลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (= 4.84, S.D. = 0.14) ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ( ก่อน = 8.83, หลัง = 16.38) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
สรุป : ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรนำแนวทางการพัฒนาไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ
References
Cantais A, Mory O, Pillet S, Verhoeven PO, Bonneau J, Patural H, et al. Epidemiology and microbiological investigations of community-acquired pneumonia in children admitted at the emergency department of a university hospital. J Clin Virol 2014; 60(4): 402-7. doi: 10.1016/j.jcv.2014.05.006. PubMed PMID: 24915939.
Le Roux DM. Childhood deaths due to pneumonia: a novel causal analysis of aetiology. Lancet Child Adolesc Health 2024; 8(3): 178-9. doi: 10.1016/S2352-4642(24)00015-4. PubMed PMID: 38281496.
World Health Organization. Pneumonia in children [Internet]. 2022 [Cited 2024 Apr 11]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia
United Nations Children’s Fund (UNICEF). Pneumonia [Internet]. 2024 [Cited 2024 Apr 11]. Available from: https://data.unicef.org/topic/child-health/pneumonia
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษา โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2562.
งานเวชระเบียน. สถิติผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในปี พ.ศ. 2563–2565. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565
Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed? JAMA 1988; 260(12): 1743-8. doi: 10.1001/jama.260.12.1743. PubMed PMID: 3045356.
Schepp KG. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children [Unpublished manuscript]. University of Washington, School of Nursing, Seattle: WA; 1995.
ฆนรส อภิญญาลังกร, วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ธันวาคม 2559; 27(เพิ่มเติม 1): 139–51.
ศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง, พรทิพย์ รัตนวิชัย, ช้องมาศ จักรวิเชียร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกองการพยาบาล 2552; 36(3): 96-112.
จารุพรรณ ตันอารีย์. ประสิทธิภาพของการใช้ Pediatric Early Warning Score: PEWS ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2559; 55(3): 196-200.
อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีกาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562; 58(3): 175-80.
ดวงเนตร์ ภูวัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2560; 19(2): 35-44.
รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผน. ชลบุรี: กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/1507186947_8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2025-05-23 (2)
- 2025-05-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของยโสธรเวชสาร