This is an outdated version published on 2025-05-01. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ศรีมารักษ์ โรงพยาบาลยโสธร
  • จุฬาภรณ์ นิลภูมิ โรงพยาบาลยโสธร
  • นิภารัตน์ อาจคำพันธ์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, โรคปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร

            วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ดำเนินการระหว่าง 6 มกราคม 2565 – 31 ตุลาคม 2565 ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ (1) ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 56 คน และผู้ดูแลเด็ก 56 คน (2) พยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบและการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกกฤติ PEWS (2) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาล ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกตัวชี้วัด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ 0.81 (3) แบบวัดความรู้ของบุคลากร มีค่าความยากง่ายรวมเท่ากับ 0.77 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย ทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ ได้ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test 

ผลการศึกษา : 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ประกอบด้วย (1) แผนการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ (2) โปรแกรมการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคปอดอักเสบของผู้ดูแลเด็ก (3) การคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง (PEWS) และ (4) โปรแกรมการวางแผนการจำหน่าย โดยใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย (4.1) การประเมินปัญหาและความต้องการการดูแลภายหลังการจำหน่าย (4.2) การวินิจฉัยปัญหาภายหลังการดูแลภายหลังจำหน่าย (4.3) การกำหนดแผนการจำหน่ายตาม D-Method (4.4) การปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย และ (4.5) การประเมินผล

2) ผลลัพธ์ของรูปแบบฯ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( = 4.73, S.D. = 0.15) และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแล อยู่ช่วงร้อยละ 91.07 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ จำนวนครั้งของย้าย ICU โดยไม่ได้วางแผน ภาวะการหายใจล้มเหลว และการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วันลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (= 4.84, S.D. = 0.14) ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ( ก่อน = 8.83,  หลัง = 16.38) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  

สรุป : ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรนำแนวทางการพัฒนาไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ

Author Biographies

วรัญญา ศรีมารักษ์, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ.

จุฬาภรณ์ นิลภูมิ, โรงพยาบาลยโสธร

พย.บ.

นิภารัตน์ อาจคำพันธ์, โรงพยาบาลยโสธร

พย.ม.

References

Cantais A, Mory O, Pillet S, Verhoeven PO, Bonneau J, Patural H, et al. Epidemiology and microbiological investigations of community-acquired pneumonia in children admitted at the emergency department of a university hospital. J Clin Virol 2014; 60(4): 402-7. doi: 10.1016/j.jcv.2014.05.006. PubMed PMID: 24915939.

Le Roux DM. Childhood deaths due to pneumonia: a novel causal analysis of aetiology. Lancet Child Adolesc Health 2024; 8(3): 178-9. doi: 10.1016/S2352-4642(24)00015-4. PubMed PMID: 38281496.

World Health Organization. Pneumonia in children [Internet]. 2022 [Cited 2024 Apr 11]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia

United Nations Children’s Fund (UNICEF). Pneumonia [Internet]. 2024 [Cited 2024 Apr 11]. Available from: https://data.unicef.org/topic/child-health/pneumonia

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษา โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2562.

งานเวชระเบียน. สถิติผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในปี พ.ศ. 2563–2565. ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565

Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed? JAMA 1988; 260(12): 1743-8. doi: 10.1001/jama.260.12.1743. PubMed PMID: 3045356.

Schepp KG. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children [Unpublished manuscript]. University of Washington, School of Nursing, Seattle: WA; 1995.

ฆนรส อภิญญาลังกร, วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ธันวาคม 2559; 27(เพิ่มเติม 1): 139–51.

ศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง, พรทิพย์ รัตนวิชัย, ช้องมาศ จักรวิเชียร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกองการพยาบาล 2552; 36(3): 96-112.

จารุพรรณ ตันอารีย์. ประสิทธิภาพของการใช้ Pediatric Early Warning Score: PEWS ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2559; 55(3): 196-200.

อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีกาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562; 58(3): 175-80.

ดวงเนตร์ ภูวัฒนาวนิชย์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2560; 19(2): 35-44.

รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผน. ชลบุรี: กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/1507186947_8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

Versions

How to Cite

ศรีมารักษ์ ว. ., นิลภูมิ จ. ., & อาจคำพันธ์ น. . (2025). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธรเวชสาร, 27(1), 2713062. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3195