การติดตามระบบลูกโซ่ความเย็น ในการขนส่งยา Erythropoietin ในผู้ป่วยไตเสื่อมระยะสุดท้าย ที่บำบัดทดแทนไตโดยการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • พันทิวา เวชกามา โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ระบบลูกโซ่ความเย็น, การล้างไตทางช่องท้อง, ยาอีริโทรโพอิติน

บทคัดย่อ

ึงหน่วยบริการเครือข่ายในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง โดย
ผู้ป่วยจะนำยาไปฉีดที่สถานบริการเครือข่ายใกล้บ้าน การส่งต่อยา EPO จึงมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นยาที่มีราคาสูงและต้อง
ควบคุมอุณหภูมิของยาขณะนำส่งให้เหมาะสม ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส เพื่อลดปัญหายาเสื่อมสภาพและยังช่วยให้การใช้ยา
ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความปลอดภัยถูกต้องและมีความเหมาะสมสูงสุด เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนมกราคม
2562 ขั้นตอนดำเนินการประกอบด้วย 1) ขั้นวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ได้ทำการทดลองหาค่ากลางของระยะเวลาในการวาง
เทอร์โมมิเตอร์ไว้ในกระเป๋ายาเย็น 2) หาแนวทางการนำส่งยาสู่หน่วยบริการเครือข่ายและทดลองหาวิธีที่ดีที่สุดในการจ่ายยา
แบบควบคุมความเย็นสู่หน่วยบริการเครือข่าย โดยทดลองเก็บยาใส่กระเป๋ายาเก็บความเย็น 3 รูปแบบ 3) นำรูปแบบการ
บริหารยา Erythropoietin แบบ Cold Chain ในวิธีที่ 2 สู่การปฏิบัติ 4) ระยะประเมินผลการทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ
กระเป๋ายาเย็น EPO ที่ใช้ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 50 ราย จากผู้สมัครใจเข้าร่วม
โครงการจำนวน 168 ราย ในคลินิก CAPD เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกผลของอุณหภูมิในกระเป๋า
ยา EPO ออกแบบการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งผลของอุณหภูมิ ระยะเวลาและระยะทาง นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่
ร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาเมื่อเทียบความไวของเทอร์โมมิเตอร์หน่วยไตเทียมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง อยู่
ระหว่าง 10-30 นาทีรูปแบบการจัดกระเป๋ายา EPO เพื่อควบคุมความเย็นขนาดกว้าง 14 เซนติเมตร ยาว 22 เซนติเมตร สูง
15 เซนติเมตร ใส่ ice pack ขนาดยาว 21 เซนติเมตร สูง 10 เซนติเมตร จำนวน 2 ก้อน จะควบคุมอุณหภูมิได้ระหว่าง 2-8

C
นานถึง 7 ชั่วโมง สามารถประกันการนำส่งยาถึงหน่วยบริการเครือข่ายไม่เกิน 19.00 น. พบว่า อุณหภูมิในกระเป๋ายา EPO เมื่อ
เริ่มต้นวัดขณะอยู่ที่หน่วยไตเทียมเฉลี่ย 5.48 ๐
C เมื่อถึงหน่วยบริการเครือข่ายอุณหภูมิเฉลี่ย 6.92 ๐
C โดยอุณหภูมิในกระเป๋า
ยา EPO เมื่อถึงหน่วยบริการเครือข่ายส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-8

C จำนวน 44 ราย (ร้อยละ 88) มีเพียง 6 ราย (ร้อยละ 12) ที่
อุณหภูมิในกระเป๋ายา EPO > 8 ๐
C และมีระยะเวลานำส่งเฉลี่ย 5.07 ชั่วโมง

References

อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, อลิษา

ทรัพย์สังข์. ภาวะโลหิตจาง และบทบาท

พยาบาลในการจัดการภาวะโลหิตจางในผู้ป่วย

โรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต.

วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(2):

อภิรดี ทองบุญ. ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยโรคไต.

วารสารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย 2551;

(44): 91.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ

บริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น.

นนทบุรี; 2557.

พันทิวา เวชกามา. การพัฒนาระบบการการ

ขนส่งยา EPO ในผู้ป่วยไตเสื่อมระยะสุดท้ายที่

ได้รับการบำบัด ทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไต

ทางช่องท้อง. หน่วยไตเทียม รพ.ยโสธร; 2559.

ศิริรัตน์ เรืองจุ้ย. โรคไตเรื้อรัง (Chronic

kidney disease) [อินเทอร์เน็ต]. 4 มิถุนายน

[เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้

จาก: http://haamor.com/โรคไต

เรื้อรัง#article101

กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย

กรุงเทพมหานคร. คู่มือการล้างไตสำหรับ

ประชาชน. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพร์ซ;

วิชญ์ภัทร ธรานนท์. Recombinant Human

Erythropoietin [อินเทอร์เน็ต]. 16 สิงหาคม

[เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้

จาก: http://haamor.com/รีคอมบิแนนฮิว

แมนอิริโพยอิติน

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล และคณะ. การพัฒนา

ระบบการส่งมอบยาที่มีคุณภาพในผู้ป่วยโรค

เรื้อรังที่ส่งต่อรักษาต่อเนื่องใน รพ.สต. ร้อยเอ็ด:

โรงพยาบาลพนมไพร; 2557.

ปรียา อารีมิตร, รินดาวรรณ พันธ์เขียน, เพียง

เพ็ญ ชนาเทพาพร. แนวทางการเก็บรักษายา

(Storage Condition) [อินเทอร์เน็ต]. 2560

[เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:

http://202.28.95.4/pharmacy/index.php?f

=detail_rule&id=6

ศิริรัตน์ เตชะธวัช. มาตรฐานการดำเนินงานด้าน

การคลังและการเก็บรักษาวัคซีน. กรุงเทพฯ: โรง

พิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01