การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงภายหลังการใส่เฝือกรักษาภาวะกระดูกเรเดียสส่วนปลายหัก ในผู้ป่วยโรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคง, กระดูกเรเดียสส่วนปลายหักบทคัดย่อ
ภาวะปลายกระดูกเรเดียสหักเป็นหนึ่งในกระดูกหักที่พบได้บ่อย รักษาโดยการจัดกระดูกให้เข้าที่และดามกระดูกโดย
ใช้เฝือก เป็นการรักษาที่นิยมใช้แบบหนึ่ง เพื่อใช้ดามกระดูกเบื้องต้นในช่วงแรกหรือใช้เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยแต่ละราย
มีหลายปัจจัยที่มีโอกาสส่งผลต่อภาวะไม่มั่นคงของปลายกระดูกเรเดียสหักภายหลังการจัดกระดูกให้เข้าที่เพียงพอ ร่วมกับการ
ดามโดยใช้เฝือกและหาความสัมพันธ์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการทรุดของกระดูกเรเดียสร่วมกับบอกแนวโน้มถึงโอกาสทรุดของปลาย
กระดูกเรเดียสในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาเกี่ยวข้อง เพื่อให้แพทย์สามารถ ตัดสินใจในการวางแผนการรักษาภาวะ
ปลายกระดูกเรเดียสหักได้อย่างดีและเหมาะสมมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาวะไม่มั่นคง
ของปลายกระดูกเรเดียสหลังใส่เฝือกและสามารถบอกโอกาสการเกิดภาวะความไม่มั่นคง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเหล่านี้มา
เกี่ยวข้องได้ การศึกษานี้ใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลัง โดยศึกษาจากผู้ป่วยปลายกระดูกเรเดียสหักที่ได้รับการรักษาใน
โรงพยาบาลยโสธรตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 30 ตุลาคม 2564 รวม 272 คน มี 219 คนที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือก แบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้การเคลื่อนทรุดลงและมีภาวะไม่มั่นคงหลังดึงจัดกระดูกเป็นตัวแบ่ง จากนั้นเก็บข้อมูลที่ทำการศึกษา
ได้แก่ อายุ, เพศ, ข้อมือข้างที่หัก, Radial Height, Radial inclination, Ulnar variance, Dorsal angulation, Dorsal
comminution, articular step-off, Distal ulnar fracture จากภาพถ่ายทางรังสีก่อนทำการรักษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้ของทั้ง
2 กลุ่มมาประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ และหาความเสี่ยงสัมพัทธ์ด้วย Multivariable logistic regression ผล
การศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ เพศ, อายุ, Radial Height, Radial inclination, Ulnar variance, Dorsal tilt
และ Dorsal comminution เป็นปัจจัยซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของภาวะปลายกระดูกเรเดียสหัก ส่วนปัจจัย Intraarticular
Fracture และ Ulnar fracture เป็นปัจจัยที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง จากนั้นนําปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เพื่อหาความน่าจะเป็น
ในการเกิดความไม่มั่นคง พบว่า ถ้าผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ภาพถ่ายทางรังสีก่อนทำการรักษามี Radial Height ตั้งแต่ 4
มิลลิเมตรลงไป, Ulnar variance ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป และมี Dorsal comminution โอกาสเกิดความไม่มั่นคงภายหลัง
การใส่เฝือกร้อยละ 96.62
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความมั่นคงของปลายกระดูกเรเดียสภายหลังการรักษาโดยการใส่เฝือก ได้แก่
Ulnar variance, Radial Height, อายุของผู้ป่วย และ Dorsal comminution โดยเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบมากที่สุด
ตามลำดับ
References
Nesbitt KS, Failla JM, Les C. Assessment
of instability factors in adult distal radius
fractures.
J Hand Surg Am 2004 Nov; 29(6):1128-
doi: 10.1016/j.jhsa.2004.06.008.
PubMed PMID: 15576227.
Chung KC, Shauver MJ, Birkmeyer JD.
Trends in the United States in the
treatment of distal radial fractures in the
elderly. J Bone Joint Surg Am 2009 Aug;
(8): 1868-73.
doi: 10.2106/JBJS.H.01297. PubMed
PMID: 19651943.
Gofton W, Liew A. Distal radius fractures:
nonoperative and percutaneous pinning
treatment options. Orthop Clin North
Am 2007 Apr; 38(2): 175-85. doi: 10.1016/j.ocl.2007.03.001. PubMed PMID:
Leung F, Ozkan M, Chow SP.
Conservative treatment of intra-articular
fractures of the distal radius--factors
affecting functional outcome. Hand Surg
Dec; 5(2): 145-53.
doi: 10.1142/s0218810400000338.
PubMed PMID: 11301509.
Cooney WP. Management of Colles’
fractures. J Hand Surg Br 1989 May;
(2): 137-9.
doi: 10.1016/0266-7681(89)90112-5.
PubMed PMID: 2746109
Melone CP Jr. Distal radius fractures:
patterns of articular fragmentation.
Orthop Clin North Am 1993 Apr; 24(2):
-53. PubMed PMID: 8479722.
Arora R, Lutz M, Deml C, Krappinger D,
Haug L, Gabl M. A prospective
randomized trial comparing
nonoperative treatment with volar
locking plate fixation for displaced and
unstable distal radial fractures in
patients sixty-five years of age and
older. J Bone Joint Surg Am 2011 Dec 7;
(23): 2146-53. doi:
2106/JBJS.J.01597. PubMed PMID:
Knirk JL, Jupiter JB. Intra-articular
fractures of the distal end of the radius
in young adults. J Bone Joint Surg Am
Jun; 68(5): 647-59. PubMed PMID:
Vaughan PA, Lui SM, Harrington IJ,
Maistrelli GL. Treatment of unstable
fractures of the distal radius by external
fixation. J Bone Joint Surg Br 1985 May;
(3): 385-9. doi: 10.1302/0301-
X.67B3.3997946. PubMed PMID:
Makhni EC, Ewald TJ, Kelly S, Day CS.
Effect of patient age on the radiographic
outcomes of distal radius fractures
subject to nonoperative treatment. J
Hand Surg Am 2008 Oct; 33(8): 1301-8.
doi: 10.1016/j.jhsa.2008.04.031. PubMed
PMID: 18929192.
Lafontaine M, Hardy D, Delince P.
Stability assessment of distal radius
fractures. Injury 1989 Jul; 20(4): 208-10.
doi: 10.1016/0020-1383(89)90113-7.
PubMed PMID: 2592094.
Abbaszadegan H, Jonsson U, von Sivers
K. Prediction of instability of Colles’
fractures. Acta Orthop Scand 1989; 60(6):
-50. doi:
3109/17453678909149595. PubMed
PMID: 2624083.
Mackenney PJ, McQueen MM, Elton R.
Prediction of instability in distal radial
fractures. J Bone Joint Surg Am 2006
Sep; 88(9): 1944-51. doi:
2106/JBJS.D.02520. PubMed PMID:
Hove LM, Solheim E, Skjeie R, Sorensen
FK. Prediction of secondary
displacement in Colles’ fracture. J Hand
Surg Br 1994 Dec; 19(6):731-6. doi:
1016/0266-7681(94)90247-x. PubMed
PMID: 7706876.
David SR, Margaret MM. Distal radius and
ulna fractures. In: Robert WB, Charles
MC, James DH, Paul T, editors.
Rockwood and Green’s fractures in
adults. 7th ed. Philadelphia: Lippincott
Williams & Wilkins; 2010. p. 829-80.
Hove LM, Fjeldsgaard K, Skjeie R,
Solheim E. Anatomical and functional
results five years after remanipulated
Colles' fractures. Scand J Plast Reconstr
Surg Hand Surg 1995 Dec; 29(4): 349-55.doi: 10.3109/02844319509008971.
PubMed PMID: 8771263.
Jenkins NH. The unstable Colles'
fracture. J Hand Surg Br 1989 May; 14(2):
-54. doi: 10.1016/0266-
(89)90116-2. PubMed PMID:
Foldhazy Z, Tornkvist H, Elmstedt E,
Andersson G, Hagsten B, Ahrengart L.
Long-term outcome of nonsurgically
treated distal radius fractures. J Hand
Surg Am 2007 Nov; 32(9): 1374-84. doi:
1016/j.jhsa.2007.08.019. PubMed
PMID: 17996772.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.