การพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาลต่อสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ฐิรพร อัศววิศรุต โรงพยาบาลยโสธร
  • เยาวลักษณ์ เมณฑกานุวงษ์ โรงพยาบาลยโสธร
  • กลอยใจ แสนวงษ์ โรงพยาบาลยโสธร
  • นิภาพร ลครวงศ์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การบริหารการพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาลต่อสถานการณ์การระบาด
โควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร (2) เพื่อศึกษาผลของพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาลต่อสถานการณ์
การระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วยและ
พยาบาลอาวุโส ในโรงพยาบาลยโสธรจํานวน 60 คน ระยะเวลาการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 30 กันยายน 2564 – 30 เมษายน 2565
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสำรวจการเตรียมความพร้อมการบริหารการพยาบาลใน
สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม
ผลการวิจัยพบว่า มีรูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลพยาบาล
สนาม มี3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ด้านการพยาบาล (2) การประเมินความพร้อมในการ
บริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (3) แนวทางการบริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม
จังหวัดยโสธร ผลการใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบสามารถใช้ได้จริง สามารถขยายผลไปยังโรงพยาบาลสนามแห่งอื่นๆ ได้รวมทั้ง
สามารถนำไป ใช้กับผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการ
และผู้ให้บริการโดยไม่พบการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลสนาม และไม่พบการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของพยาบาล ก่อน
และหลังทดลองรูปแบบการบริหารการพยาบาล

References

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม,

พราวภวินท์ พักตร์ธนาปกรณ์, พัชราภรณ์ ศอกจะบก.

ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

(COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ:

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์; 2563.

ประเสริฐ จารึก. ‘ไทม์ไลน์’ ที่หายไป พร้อมคลัสเตอร์

ทองหล่อ [อินเทอร์เน็ต]. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์; 2564

[เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.prachachat.net/columns/news656713.

ประชาชาติธุรกิจ. คลัสเตอร์ทองหล่อ โควิดสายพันธุ์

อังกฤษ ระบาดแรงเร็ว 1.7 เท่า [อินเทอร์เน็ต]. 2564

[เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.prachachat.net/general/news644473

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการจัดตั้ง

โรงพยาบาลสนาม กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

หรือโรคโควิด 19 ในกลุ่มผู้ป่วยไม่แสดงอาการหรือ

มีอาการน้อย ฉบับที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;

กรุงเทพธุรกิจ. แห่ ‘ตรวจโควิด’ ทะลัก รพ.เอกชน

[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565].

เข้าถึงได้จาก:

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/9

มติชนออนไลน์. ผอ.รพ.เอกชน แจงไม่รับตรวจเหตุเตียง

ไม่พอ รับรอบนี้อันตราย แนะรัฐเร่งนำเข้าวัคซีนอื่น

[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565].

เข้าถึงได้จาก:

https://www.matichon.co.th/politics/news_2665753

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย

และนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.). ปัญหาสังคมจากการระบาดระลอกที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20

มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://tdri.or.th/2021/05/covid-131/#_ftn1

ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์,

สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่ม

สมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลใน

สถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ในโรงพยาบาลสังกัด

กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;

(2): 320-33.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานสรุปผล

การปฏิบัติงานของพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของ

เชื้อไวรัสโคโรนา 2019. นนทบุรี: กองการพยาบาล;

ธีรพร สถิรอังกูร. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี

ด้านสาธารณสุขกับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติของ

พยาบาล.วารสารกองการพยาบาล 2559; 3(1): 1-8.

HR NOTE.asia. แนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหาร

จัดการ (Management Concept) [อินเทอร์เน็ต]. 2562

[เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-

management-concept/

แนวคิดและความเป็นมาของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี

ส่วนร่วม [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน

. เข้าถึงได้จาก:

https://pongmed.wordpress.com/2013/08/26/par1/

Jennings-Sanders A. Teaching disaster nursing

by utilizing the Jennings Disaster Nursing

Management Model. Nurse Educ Pract 2004; 4(1):

-76. doi: 10.1016/S1471-5953(03)00007-6.

PubMed PMID: 19038139.

สํานักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ

การบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโรค

COVID-19. นนทบุรี: สื่อตะวัน; 2564.

อุษา คําประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการ

พยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนก

ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9

; 16(1): 30-44.

Sirilak S. Thailand’s experience in the COVID19 response [Internet]. 2020 [cited 2021 Mar 12].

Available from:

https://greatermekong.org/thailand%E2%80%99s

-experience-covid-19-response

International Council of Nurses. Protecting

nurses from COVID-19 a top priority: a survey of

ICN’s national nursing associations. Switzerland:

Geneva; 2020.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินศูนย์

ประสานความร่วมมือของพยาบาลในภาวะการติดเชื้อ

COVID-19. นนทบุรี: สื่อตะวัน; 2563.

World Health Organization. Critical

preparedness, readiness and response actions for

COVID-19. Switzerland: Geneva; 2020.

Lester PE, Holahan T, Siskind D, Healy E.

Policy recommendations regarding skilled nursing

facility management of coronavirus 19 (COVID19): lessons from New York State. J Am Med Dir

Assoc 2020; 21(7): 888-92. doi:

1016/j.jamda.2020.05.058. PubMed PMID:

World Health Organization, International

Council of Nurses. ICN Framework of Disaster

Nursing Competencies. Switzerland: Geneva;

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01