ปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน ที่ส่งผลต่อการรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ธนาพร นิจพานิชย์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

โรคหอบหืดในเด็ก, โรคหืดกำเริบเฉียบพลันในเด็ก, ปัจจัยเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคหืดกำเริบเฉียบพลันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการมาตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินของผู้ป่วยเด็ก หากทราบ
ปัจจัยเสี่ยงของการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน จะสามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีและอาจ
ช่วยลดการนอนโรงพยาบาลได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กที่เข้ามารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินด้วยโรคหืด
กำเริบเฉียบพลัน
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กอายุ 6–15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่า
มีอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อมูล
ที่ศึกษาประกอบด้วยข้อมูลทางประชากร ปัจจัยกระตุ้น ประวัติการรักษาโรคหืด ลักษณะทางคลินิกแรกรับและการรักษาที่
แผนกฉุกเฉิน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลกับผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินและวินิจฉัยว่ามีอาการหืดกำเริบเฉียบพลันที่รับเข้าการศึกษา 180 คน
ได้รับการรักษาตัวนอนในโรงพยาบาล 90 คน และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล 90 คน พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีข้อมูลพื้นฐานและ
ประวัติการรักษาโรคหืดไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกแรกรับ ระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยที่ต้อง
นอนโรงพยาบาลมีระยะเวลาของการหอบก่อนมารักษาที่ห้องฉุกเฉินนานกว่า (OR 2.44, 95%CI 1.94- 3.6, p < 0.01), มี
อาการหอบระดับรุนแรงมากกว่า (OR 2.14, 95%CI 1.64- 2.6, p < 0.01) และเมื่อเปรียบเทียบการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน พบว่า
กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลได้รับยาขยายหลอดลมชนิด nebulized β2-agonist ใช้ระยะเวลาระหว่างพ่นยาแต่ละครั้ง
นานกว่ากลุ่มที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล (OR 2.28, 95%CI 1.82- 3.3, p < 0.01)
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลันคือ ผู้ป่วยที่มีอาการจับหืด
นานก่อนเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน อาการประเมินแรกรับมีความรุนแรง และการรักษาที่แผนกฉุกเฉินพบว่าปัจจัยเสี่ยง คือ
ระยะเวลาระหว่างการพ่นยา nebulized β2-agonist แต่ละครั้งนานกว่ากลุ่มที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

References

Martinez FD. Trends in asthma

prevalence, admission rates, and asthma

death. Respir Care 2008; 53(5): 561-5.

PubMed PMID: 18426610.

ดาริกา วอทอง, เนสินี ไชยเอีย, วัชรา บุญสวัสดิ์.

ลักษณะอาชีพและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืด

ของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกโรคหืดใน

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น. ศรีนครินทร์

เวชสาร 2557; 29 (3): 224.

Bahadori K, Doyle-Waters MM, Marra C,

Lynd L, Alasaly K, Swiston J, et al.

Economic burden of asthma: a

systematic review. BMC Pulm Med 2009;

: 1-16. doi: 10.1186/1471-2466-9-24.

PubMed PMID: 19454036.

Boonsawat W, Charoenphan P,

Kiatboonsri S, Wongtim S, Viriyachaiyo V,

Pothirat C, et al. Survey of asthma

control in Thailand. Respirology 2004;

(3): 373-8. doi: 10.1111/j.1440-

2004.00584.x. PubMed PMID:

Visitsunthorn N, Durongpisitkul W,

Uoonpan S, Jirapongsananuruk O,

Vichyanond P. Medical charge of asthma

care in admitted Thai children. J Med

Assoc Thai 2005; 88 (suppl 8): S16- 20.

PubMed PMID: 16856420.

Suwan P. In-patient medical service

charge of pediatric patients with asthma

at BMA Medical College and Vajira

Hospital. Vajira Med J 2010; 54: 160-170.

ข้อมูลงานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาล

ยโสธร. จำนวนผู้ป่วยเด็กโรคหืดเข้ารับการรักษา

และต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลยโสธร.

ยโสธร; 2564.

Trakultivakorn M, Sangsupawanich P,

Vichyanond P. Time trends of the

prevalence of asthma, rhinitis and

eczema in Thai children-ISAAC

(International Study of Asthma and

Allergies in Childhood) Phase Three. J

Asthma 2007; 44(8): 609-11. doi:

1080/02770900701540119. PubMed

PMID: 17943570.

Ngamphaiboon J, Kongnakorn T, Detzel

P, Sirisomboonwong K, Wasiak R. Direct

medical costs associated with atopic

diseases among young children in

Thailand. J Med Econ 2012; 15(6): 1025-

doi: 10.3111/13696998.2012.698671.

PubMed PMID: 22642533.

Carroll CL, Stoltz P, Raykov N, Smith SR,

Zucker AR. Childhood overweight

increase hospital admission rates for

asthma. Pediatrics 2007; 120(4): 734-40.

doi: 10.1542/peds.2007-0409. PubMed

PMID: 17908759.

Moin M, Aghamohammadi A, Gharavi

MH, Ardestani A, Faghihimehr A, Kouhi A,

et al. Risk factors leading to hospital

admission in Iranian asthmatic children.

Int Arch Allergy Immunol 2008; 145(3):

-8. doi: 10.1159/000109293. PubMed

PMID: 17914276.

Tolomeo C, Savrin C, Heinzer M, BazzyAsaad A. Predictors of asthma–related

pediatric emergency department visits

and hospitalizations. J Asthma 2009;

(8): 829-34. PubMed PMID: 19863288.

Pollack CV Jr, Pollack ES, Baren JM,

Smith SR, Woodruff P, Clark S, et al. A

prospective multicenter study of patient

factors associated with hospital

admission from the emergency

department among children with acute

asthma. Arch Pediatr Adolesc Med 2002;

(9): 934-40. doi:

1001/archpedi.156.9.934. PubMed

PMID: 12197803.

Geelhoed GC, Landau LI, Le Souëf PN.

Evaluation of SaO2 as a predictor of

outcome in 280 children presenting with

acute asthma. Ann Emerg Med 1994;

(6): 1236-41. doi: 10.1016/s0196-

(94)70347-7. PubMed PMID:

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนว

ทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย

สำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ:

ยูเนียนอุตราไวโอเร็ต; 2555.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01