การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายในชุมชน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัมพร อยู่คง โรงพยาบาลมหาชนะชัย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย, การพยาบาลแบบองค์รวมในชุมชน

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งเต้านมคือเซลล์ของเนื้อเยื่อเต้านมที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเติบโตอย่างรวดเร็วจน
ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ เชลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียงรวมถึงกระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด
จนสูญเสียหน้าที่และเข้าสู่มะเร็งระยะสุดท้าย อีกทั้งมีโรคร่วม เช่น เบาหวานและวัณโรคปอด ทำให้เสียชีวิตในที่สุด ก่อให้เกิด
ความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย รวมถึงภาวะจิตใจของคนในครอบครัว ดังนั้นการให้การพยาบาลในชุมชน
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีโรคอื่นร่วมด้วยโดยการดูแลต่อเนื่องโดยการเยี่ยมบ้านต่อเนื่องจากสถานบริการสู่บ้านและ
ชุมชนส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวมมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาวะของโรคที่ดำเนินอยู่
กรณีศึกษา: เป็นการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีโรคร่วมคือ โรคเบาหวานและวัณโรคปอด ที่รักษาด้วยการผ่าตัดและให้
เคมีบำบัดที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ตามแผนการรักษาคือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดติดต่อ 6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4
สัปดาห์ มีการวางแผนการพยาบาลตามแนวเวชปฏิบัติครอบครัว INHOMESSS เพื่อประเมินได้ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ จิต
สังคม วิญญาณและด้านเศรษฐกิจ ให้การพยาบาลในชุมชนโดยการติดตามเยี่ยมบ้าน ตั้งแต่ระยะหลังการผ่าตัด การเตรียมตัว
ก่อนให้เคมีบำบัด การดูแลหลังให้เคมีบำบัดรวมถึงการให้คำแนะนำในการดูแลตนเองในโรคร่วมที่ผู้ป่วยดำเนินอยู่ การเฝ้าระวัง
ภาวะแทรกซ้อน ติดตามอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วยการนัดหมายล่วงหน้าและแก้ไขปัญหา ทั้งที่วางแผนมาหรือตามสภาพ
ปัญหาที่พบ
ผลลัพธ์: ผู้ป่วยทุเลาจากปัญหาที่พบและอาการเจ็บป่วยและภาวะร่วมอื่นๆ สามารถยอมรับในระยะดำเนินการของโรค
มีกำลังใจและสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างเหมาะสมตามสภาพปัญหา ญาติผู้ป่วยมีความเข้าใจแนวทางการรักษา
สามารถให้การดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้
สรุป: การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย พยาบาลผู้ให้การดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพ แนวทางการรักษา การให้
คำแนะนำที่สอดคล้องกับปัญหาและโรคที่ดำเนินอยู่ ให้การพยาบาลแบบองค์รวมโดยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและ
ญาติในการวางแผนในการดูแลต่อเนื่อง จากโรงพยาบาลสู่ครอบครัวและชุมชนทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีตาม
สภาพของความเจ็บป่วย ส่งผลให้บรรลุตามเป้าหมายของการดูแลระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

References

เกวลิน รังษิณาภรณ์. นมเรื่องไม่ยาก. จุลสารรังสีวิทยา

สมาคมแห่งประทศไทย มกราคม–เมษายน 2562; 1(1): 6.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวง

สาธารณสุข. ข้อมูลทะเบียนมะเร็ง [อินเทอร์เน็ต]. 2563

[เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:

http://tcb.nci.go.th/CWEB/cwebBase.do?mode=in

itialApplication

เปิดสถิติ “โรคมะเร็ง” ในคนไทย ดันยอดป่วยใหม่ทะลุ

แสนรายต่อปี. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.prachachat.net/general/news-869575

พจนา จิตตวัฒนรัตน์. มะเร็งเต้านม. โรงพยาบาลมะเร็ง

กรุงเทพ วัฒโนสถ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25

กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.wattanosothcancerhospital.com/can

cer-types/breast-cancer

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. การพยาบาล

ผู้ป่วยที่บ้าน. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศ; 2556: หน้า 121-3.

รายงานจากฐานข้อมูล HDC และ 43 แฟ้ม. ศูนย์

สุขภาพชุมชน กลุ่มงานด้านบริการปฐมภูมิและองค์รวม.

ยโสธร: โรงพยาบาลมหาชนะชัย; เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน

ภัคพร กอบพึ่งตน, จินตนา จรัญเต, ดรุณี ดลรัตนภัทร,

อรศิลป์ ชื่นกุล, ดรุณี ส่องแสง. คุณภาพการพยาบาล

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศ

ไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2551; 26: 47-55.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวง

สาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานการทำงานเกี่ยวกับยาเคมี

บำบัดและการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยา. กรุงเทพฯ: นิวธรรม

ดาการพิมพ์ (ประเทศไทย); 2560.

ภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็ง

อุบลราชธานี กรมการแพทย์. แนวปฏิบัติการพยาบาล

(CNPG: Clinical Nursing Practice Guideline) ผู้ป่วย

โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. อุบลราชธานี: โรงพยาบาล

มะเร็งอุบลราชธานี; 2563: หน้า 1-11.

กานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ, ประจวบ หนูอุไร. การดูแล

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการฉายรังสี. สงขลา:

ภาควิชารังสีวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. มะเร็งเต้านมเรื่อง

ที่น่ารู้และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม.

กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์; 2555.

ชูชื่น ชีวพูนผล. อิทธิพลของภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

ความเข้มแข็งในการมองโลกของญาติผู้ดูแล และความรู้สึก

เป็นภาระในการดูแล ต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วย

มะเร็งระยะลุกลาม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรดุษฎี

บัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

Carpenito-Moyet LJ. การวางแผนและบันทึก

ทางการพยาบาล เล่ม 1 (NURSING CARE PLANS &

DOCUMENTATION NURSING DIAGNOSES AND

COLLABORATIVE PROBLEMS). ใน: วรรณี ตปนียากร,

งามนิตย์ รัตนานุกูลและคณะ, ผู้แปลและเรียบเรียง.

กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส; 2552.

สุวคนธ์ กุรัตน์, พัชรี ภาระโข, สุวิริยา สุวรรณโคตร.

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย: มิติใหม่ที่ท้าทายบทบาทของ

พยาบาล. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้

ให้บริการสาธารณสุข กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่

เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฉบับปรับปรุง.

กรุงเทพฯ: สามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์; 2562: หน้า 32–47.

บุษยามาส ชีวสกุลยง, ลดารัตน์ สาภินันท์. การดูแล

แบบประคับประคอง (Palliative Care) [ตำราคณะ

แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. เชียงใหม่: กลาง

เวียงการพิมพ์; 2556. หน้า 35–46.

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01