การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจ: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้
ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน มีสาเหตุจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ป่วยจึง
จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน พยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง
โรงพยาบาลจนได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย ที่
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยการศึกษาประวัติผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนสุขภาพ 4 แผนการรักษา
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันใช้การรักษาพยาบาลแบบระบบช่องทางด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ของ
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา รวมถึงการวางแผนการจำหน่าย
ผลการศึกษา: พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 53 ปี ด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกข้างซ้าย ปวดร้าวไปกราม
เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เป็นก่อนมา 1 ชั่วโมง มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกข้างซ้าย ขณะเดินอยู่ ผู้ป่วยปฏิเสธโรคประจำตัว ได้รับการ
รักษาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือด ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่มีภาวะแทรกซ้อนและให้การพยาบาลตามแผน การรักษา
กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 58 ปี ด้วยอาการแน่นหน้าอกขวา เจ็บร้าวไปคอ เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เป็นก่อนมา 2
ชั่วโมง 20 นาที ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ขณะให้ยามีภาวะแทรกซ้อน คือ ความดันโลหิตต่ำ ได้ปรับ
แผนการให้ยาและให้การพยาบาลตามแผนการรักษา ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัด
อุบลราชธานีและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย CCU ทั้ง 2 ราย
สรุปผลการศึกษา:การประเมินคัดกรองผู้ป่วยอย่างถูกต้องและได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่
ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จนกระทั่งส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า สามารถลดการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
References
กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ
กองระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ
Coronary Artery Disease (CAD) ปี พ.ศ. 2561
[อินเทอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;
[เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/108112019
เกรียงไกร เฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์;
งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
หัวใจ ปี 2563–2565. ยโสธร: โรงพยาบาลสมเด็จพระ
ยุพราชเลิงนกทา; ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2565.
สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย
โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่ง
ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและ
หลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 10. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา;
อภิสิทธิ์ ตามสัตย์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
หัวใจโคโรนารี [เอกสารประกอบการสอนวิชาการ
พยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
โรงพยาบาลตำรวจ; 2558.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. หลักการประเมินสุขภาพ.
พิษณุโลก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร;
: หน้า 7–8
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.