การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, โรคปอดอักเสบ, ภาวะการหายใจล้มเหลวบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock) เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อโรคหรือ
สารพิษที่สร้างจากเชื้อโรคทำให้เกิดกระบวนการอักเสบทั่วร่างกายและจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะสำคัญของร่างกายเสีย
หน้าที่ จนเกิดอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multiple organ system dysfunction) และทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาที่รวดเร็ว
ที่พบบ่อยคือการติดเชื้อที่ปอด ผู้ป่วยจะเกิดภาวะพร่องออกซิเจนอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว ( Acute
respiratory failure)
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจ
ล้มเหลว กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
วิธีการดำเนินงาน: ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว
จำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธร ช่วงเดือนตุลาคม 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 โดยรวบรวมข้อมูลจาก
เวชระเบียนผู้ป่วยและแบบประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพยาธิสภาพ
อาการ อาการแสดง การรักษา กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการ
พยาบาล รวม 3 ระยะ ได้แก่ การดูแลระยะวิกฤต การดูแลระยะต่อเนื่องและการเตรียมจำหน่ายกลับบ้าน
ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยอายุ 65 ปี มีโรคประจำตัวเป็น Asthma มาด้วยอาการ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
มีไข้ ไอมีเสมหะ รักษาที่คลินิกเอกชน 1 วัน ก่อนมาอาการไม่ดีขึ้นหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการใส่
ท่อช่วยหายใจและให้ออกซิเจนด้วยเครื่องช่วยหายใจ ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาเพิ่มความดันโลหิต
Norepinephrine และยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้นสามารถถอดท่อช่วยหายใจ ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวม
ระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 7 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 66 ปี มีโรคประจำตัวเป็น DM, HT ถูกส่งตัวมา
จากโรงพยาบาลใกล้บ้าน ด้วยอาการ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว 3 ครั้ง ระหว่างการเข้ารับ
การรักษาโรงพยาบาลชุมชนผู้ป่วยมีอาการซึมลง หายใจหอบมากขึ้น ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและส่งตัวมารักษาต่อที่
โรงพยาบาลยโสธร ได้รับการรักษาโดยให้ออกซิเจนด้วยเครื่องช่วยหายใจ ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาเพิ่มความดัน
โลหิต Norepinephrine และยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้นสามารถถอดท่อช่วยหายใจ ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน
รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 10 วัน
สรุป: การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะหายใจล้มเหลวเป็นภาวะวิกฤตที่มีความสำคัญ
การให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้น พยาบาลจำเป็นต้องมี
ความรู้ ทักษะความชำนาญที่เป็นพิเศษเพื่อประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งต้องมีแนวทางการพยาบาล
อย่างเป็นระบบต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับจนจำหน่าย จึงจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังจำหน่าย
References
สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, ดวงมณี เลาหประสิทธิพร. แนว
ทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ severe
sepsis/septic shock โรงพยาบาลศิริราช คณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
วีรพงศ์ วัฒนาวนิช. Update management in
septic shock [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 28
กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:
http://medinfo.psu.ac.th/nurse/CoP/Sepsis/s
epsis_3.pdf
Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM,
Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving Sepsis
Campaign: International Guidelines for
Management of Sepsis and Septic Shock:
Crit Care Med 2017; 45(3): 486-552.
doi: 10.1097/CCM.0000000000002255.
PubMed PMID: 28098591.
healthkpi. KPI กระทรวงสาธารณสุข รายงาน
ตัวชี้วัดที่ 034: อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
แบบรุนแรงชนิด community-acquired ปี 2563
[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม
. เข้าถึงได้จาก:
http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?i
d=1448&kpi_year=2563
อุ่นเรือน กลิ่นขจร, สุพรรษา วรมาลี. คู่มือการ
พยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ. กรุงเทพฯ:
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;
อุไร มิตรปราสาท. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มี
ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ร่วมกับมีภาวะติดเชื้อ
ในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพ
และสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563; 5(4): 144–52.
เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา, พรรณิภา สืบสุข. การ
พยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ. ใน: ปราณี ทู้ไพเราะ
และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555: 44-59.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.
(Public Health Statistics A.D. 2020.
นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. เอกสารรายงาน
ข้อมูลตัวชี้วัด service plan ปี 2563. ยโสธร; 2564.
งานเวชระเบียนและสถิติ. ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคติด
เชื้อในกระแสเลือด ปี 2563. ยโสธร: โรงพยาบาล
ยโสธร; 2564.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. หลักการประเมินสุขภาพ.
พิษณุโลก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร; 2552: หน้า 7–8.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.