การพยาบาลแบบองค์รวมผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลยโสธร: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลแบบองค์รวม, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกบทคัดย่อ
ภาวะต้อกระจก เป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดอันดับหนึ่งของโลกและมักเกิดกับผู้สูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมตาม
วัยและมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อกระจก เช่น คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน การขาดสารอาหาร สูบบุหรี่ ยาสเตียรอยด์ รังสี
ยูวี การกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บที่ตา เป็นต้น
วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลครอบคลุมองค์รวมและเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเปรียบเทียบในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กรณีศึกษา 2 ราย ในหอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์ โรงพยาบาลยโสธร
เก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาพยาบาล เวชระเบียน การสังเกตอาการ
การสอบถาม การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยและญาติ ระยะเวลาการศึกษา เดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563
ผลการศึกษา: พบว่าปัญหาของผู้ป่วยที่เหมือนกัน คือ 1) วิตกกังวลเกี่ยวการผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อความไม่พร้อมในการผ่าตัด
3) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเดินชนสิ่งของเนื่องจากมีภาวะสายตาเลือนราง 4) ปวดตาเนื่องจากมีแผลผ่าตัด
5) เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อภายในลูกตา 6) เสี่ยงต่อภาวะ Hyperglycemia, Hypoglycemia 7) ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดทักษะในการ
ดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน สำหรับปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน กรณีที่ 1 คือ 1) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลนส์แก้วตา
เทียมเคลื่อน 2) ไม่สามารถดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน ส่วนกรณีที่ 2 มีปัญหาที่แตกต่าง คือ 1) มีภาวะความดันลูกตาสูง 2) เสี่ยง
ต่อภาวะจอประสาทหลุดลอก จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าหลังจากให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกขณะรักษาตัวใน
โรงพยาบาล โดยให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลและประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลครอบคลุมองค์รวม การ
วางแผนจำหน่ายแบบ DMETHOD ผู้ป่วยและผู้ดูแลคลายความวิตกกังวล พร้อมผ่าตัดให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปสู่สังคมได้ปกติ ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพเป็น
อย่างดี สามารถปฏิบัติตัวดูแลตนเองได้เหมาะสม
สรุป: ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกมีภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุที่แตกต่างกัน พยาบาลจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการประเมิน การ
วินิจฉัยภาวะเสี่ยงตั้งแต่แรกรับ การร่วมทีมสาขาวิชาชีพในการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้องและทันเวลาควบคู่กับการใช้แนว
ปฏิบัติการพยาบาลภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผล
ลดอัตราภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้
References
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตำราจักษุวิทยา:
สำหรับนิสิตแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป.
กรุงเทพฯ: ภาควิชาจักษุวิทยา คณะ
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
จิรดา มณีพงษ์. กรณีศึกษา: การพยาบาลองค์
รวมในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีความเสี่ยงสูง
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและ
สิ่งแวดล้อมศึกษา 2563; 5(2): 13.
จักรี หิรัญแพทย์. Lens and Cataract
[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม
. เข้าถึงได้จาก:
https://www.scribd.com/document/2214
/Lens-and-Cataract
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย. จักษุจุฬา. กรุงเทพฯ:
พิมพ์ดี; 2557.
ขวัญตา เกิดชูชื่น, สุจินตา ริมศรีทอง. การ
พยาบาลจักษุวิทยา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชา
พยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี; 2540.
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี
และกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2559.
American Diabetes Association. Diagnosis
and Classification of Diabetes Mellitus.
Diabetes Care 2004 Jan; 27 (suppl 1): s5-
doi: 10.2337/diacare.27.2007.s5.
PubMed PMID: 14693921.
จันจิราภรณ์ วิชัย, สายสมร พลดงนอก, กิตติ
ศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์. ความรู้เรื่องโรคความดัน
โลหิตสูง. ขอนแก่น: หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ
งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์;
American Diabetes Association.
Classification and Diagnosis of Diabetes:
Standards of Medical Care in Diabetes2020. Diabetes Care 2020 Jan; 43 (Suppl
: S14–31. doi: 10.2337/dc20-S002.
PubMed PMID: 31862745.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.