การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเขมราฐ

ผู้แต่ง

  • ศิริพร หินซุย โรงพยาบาลเขมราฐ

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ, โครงการหน่วยเคลื่อนที

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุใน
เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลเขมราฐ และ 2) เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติตามระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขต
รับผิดชอบโรงพยาบาลเขมราฐ กลุ่มตัวอย่างเปนบุคลากรสาธารณสุข จํานวน 26 คน และผู้สูงอายุ จํานวน 3,665 คน ในเขต
รับผิดชอบโรงพยาบาลเขมราฐ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการประชุมกลุ่ม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ระบบกลไก ขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานในการออกหน่วยเคลื่อนที่ตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน 4) แบบประเมินปัญหาช่องปากผู้สูงอายุ 5) อุปกรณ์ใน
การทําความสะอาดฟันและแบบจําลองฟันประกอบการให้ทันตสุขศึกษาและ 6) เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการบันทึก
ข้อมูลผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ดําเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการของ
กลุ่มงานทันตกรรม ระยะที่ 2 พัฒนาระบบปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 นําระบบปฏิบัติงานใน
การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไปใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผลการปฏิบัติตามระบบ ในเดือนกันยายน 2565ถึงเดือน
กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.65 เป็นร้อยละ 98.82 2) ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟัน
เทียมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.46 เป็นร้อยละ 3.78 3) มีปัญหาสุขภาพช่องปากลดลงจากร้อยละ 51.95 เป็นร้อยละ 20.35 4) มี
ภาวะเหงือกอักเสบหรือปริทันต์ลดลงจากร้อยละ 70.77 เป็นร็อยละ 42.45 5) ฟันโยกลดลงจากร้อยละ 20.40 เป็นร้อยละ
11.02 และ 6) มีฟันผุลดลงจากร้ยยอยละ 47.12 เป็นร้อยละ 17.98 บุคลากรสาธารณสุขคิดเห็นว่าระบบการประสานงานและการ
ประชาสัมพันธ์ทําให้ผู้สูงอายุเข้ารับบริการมากขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุและญาติยังมีความพึงพอใจในระบบการบริการดูแล
สุขภาพช่องปากต้องการให้ดําเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและขยายเขตพื้นที่บริการไปยังตําบลใกล้เคียง

References

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. บทสรุปสําหรับผู้บริหารการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564

[อินเทอร์เน็ต].2565 [เขาถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. เขาถึงไดจาก:http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/

ดานสังคม/สาขาประชากร/ประชากรสูงอายุ/2565/summary_excusive_64.pdf.

Thomas BL, Thomas C. Cytogerontology since 1881: A reappraisal of August Weismann and a

review of modern progress. Human Genetics 1982; 60: 101-21.

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ

ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย; 2561.

โยธิน แสวงดี. การออกแบบการวิจัยและการทําวรรณกรรมปริทัศน์. ในรายวิชา 2900305 วิธีวิทยาการวิจัย

(Research Methodology) คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25

มีนาคม 2566]. เขาถึงได้จาก: https://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/index/

php/jrm/article/view/395.

Deming WE. Out of the Crisis. Cambridge, MA: MIT Press; 2000.

Fusch P, Fusch GE, Ness LR. Denzin’s Paradigm Shift: Revisiting Triangulation in Qualitative Research.

Journal of Social Change 2018; 10(1): 19-32. doi: 10.5590/JOSC.2018.10.1.02.

ขวัญเรือน ชัยนันท์,สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชอง

ปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข

ภาคใต้ มกราคม-เมษายน 2561; 5(1): 91-107.

ศิรประภา สิทธาพานิช. ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกหมอ

ครอบครัวยอ. ยโสธรเวชสาร กรกฎาคม-ธันวาคม 2565; 24(2): 36-48.

วราคนา เวชวิธี. โครงการบูรณาการ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภายใต้

แผนงานทันตสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทย พ.ศ. 2558–2565. ศูนยปฏิบัติการกรมอนามัย[อินเทอรเน็ต].

[เขาถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. เขาถึงได้จาก: http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=strproject/view&id=1072.

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดําเนินงานทันตสาธารณสุข ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.

นนทบุรี: กลุมบริหารยุทธศาสตร์ สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2563.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหาร

การศึกษาแห่งประเทศไทยกรกฎาคม-กันยายน 2562; 1(3): 39-46.

พรทิพย์ ศุกรเวทย์ศิริ. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชองปากผูสูงอายุ เขตเทศบาลเมือง อําเภอเมือง จังหวัด

สุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทรี์ บุรีรัมยมกราคม-เมษายน 2564; 36(1): 149-58.

สุขณิษา อินแก้ว. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากผูสูงอายุ กรณีศึกษา : อําเภอนาหมอม จังหวัด

สงขลา. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก พฤษภาคม-สิงหาคม 2563; 7(2): 28-39.

ชิสา ตัณฑะกูล, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์, วรรธนะ พิธพรชัยกุล. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชองปากสําหรับผูสูงอายุ

ติดบานหรือติดเตียง ในชุมชนบานดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

กรกฎาคม–กันยายน 2565; 16(3): 193-206.

ภาณุศักดิ์ อินทสะโร. ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความพึงพอใจของผูสูงอายุที่มารับบริการทําฟนเทียม ณ โรงพยาบาล

ระนอง จังหวัดระนอง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2565; 28(2): 1-15.

ธีรภาพ ทัศนานุกุลกิจ. การพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพช่องปากและฟันปลอมในผู้สูงอายุโรงพยาบาลนํ้าขุ่น.

วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2564; 2(2): 131-6.

ไพสิฐ ภิโรกาศ, อรวรรณ กีรติสิโรจน์. ผลของโปรแกรมประยุกต์ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลทาง

ทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสุขศึกษากรกฎาคม-ธันวาคม

; 42(2): 110-22.

อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา. ประสิทธิผลในการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง

แรงจูงใจผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพชองปากของผู้สูงอายุติดเตียง : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม.

วิทยาสารทันตแพทยศาสตรกรกฎาคม-กันยายน 2561; 68(3): 256-69

เผยแพร่แล้ว

2023-06-02