การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน โรงพยาบาลป่าติ้ว

ผู้แต่ง

  • เรืองลักษณ์ จันทรุทิน โรงพยาบาลป่าติ้ว

คำสำคัญ:

หลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน, รูปแบบการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาล
ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน โรงพยาบาลป่าติ้ว ศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566 ดําเนินการ
4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาล ระยะที่ 3 นําสู่การปฏิบัติ ระยะที่ 4
ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้ใช้บริการเป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน จํานวน 25
ราย 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จํานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดําเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนา
ความรู้พยาบาลวิชาชีพ และแนวปฏิบัติการพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพโดยความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกคุณภาพการรักษาพยาบาล (2) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของบุคลากร ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ .81 (3) แบบวัดความรู้ของพยาบาล
วิชาชีพ ทดสอบความเชื่อมั่น โดย KR-20 เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความ
แตกต่างโดยใช้สถิติ pair t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ประกอบด้วย โปรแกรมการ
พัฒนาความรู้พยาบาลวิชาชีพและเครือข่าย และแนวปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน 2) ประสิทธิผล
ของรูปแบบ ประกอบด้วย (1) ผลลัพธ์ด้านคุณภาพการพยาบาล ได้แก่ ความรู้พยาบาลวิชาชีพ ความพึงพอใจของพยาบาล
วิชาชีพ และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้น (2) ผลลัพธ์ด้านการบริการสุขภาพ ได้แก่ 1)
การเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 2) การเข้าถึงช่องทางด่วน 3) ระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึง
เคลื่อนย้ายออกจากห้องฉุกเฉิน พบว่าการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพิ่มขึ้น ทําให้การเข้าถึงช่องทางด่วน
สูงขึ้น และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเคลื่อนย้ายออกจากห้องฉุกเฉินลดลง
สรุป ผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ทําให้การเข้าถึง
ช่องทางด่วนสูงขึ้น ทําให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น

References

World Stroke Organization. World stroke campaign [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 3]. Available

from: http://www.world-stroke.org/advocacy/ world-stroke-campaign

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ประจําปี พ.ศ. 2560

[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf

สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแหงประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอด

เลือดสมองสําหรับพยาบาลทั่วไป (Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส;

งานผู้ป่วยนอก. รายงานการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย Stroke. ยโสธร: โรงพยาบาลป่าติ้ว; 2566.

Donabedian A. An introduction to Quality Assurance in Health Care. New York: Oxford

University Press; 2003.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย; 2542.

บุญญรัตน์ เพิกเดช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์.

วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 กรกฎาคม-กันยายน 2563; 34(3): 7-21.

ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล, อรวรรณ อนามัย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่

รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข พฤษภาคม-สิงหาคม

; 26(2): 142-53.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-02