ประสิทธิผลของการตรวจแมมโมแกรม BI-RADS 4B และ 4C ในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, มะเร็งเต้านม, แมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์, โรงพยาบาลยโสธรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ความสัมพันธ์และประสิทธิผลของการตรวจ
แมมโมแกรม BIRADS 4B และ 4C ต่อโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูล
จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธร ระหว่างปี พ.ศ. 2564-2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง
พรรณนา Multiple logistic regression, Chi-square test, Fisher exacts test และวิเคราะห์หาค่าความไว ค่าความจําเพาะ
และค่าความถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่าสตรีที่มีผลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ B-IRADS 4B และ 4C 115 ราย ส่วน
ใหญ่อายุ 40-59 ปี ร้อยละ 56.5 (Mean=51, S.D.=11.7) ผลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ BI-RADS 4B มีอัตราความ
ชุกการเกิดมะเร็งเต้านม ร้อยละ 18.2 (95%CI=7.8, 28.6) ส่วน BI-RADS 4C พบร้อยละ 88.3 (95%CI=80.0, 96.6)
ลักษณะของแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม (p-value<0.05) ได้แก่ ลักษณะขอบของ
ก่อนที่มีลักษณะผิดปกติ การมีหินปูน ลักษณะเ้นเลือดในก่อน ลักษณะที่ผิดปกติของต่อมน้ําเหลืองและการมีถุงน้ําในเต้า
นม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดย BI-RADS 4C มีโอกาส
เป็นมะเร็งถึง 46.2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ BI-RADS 4B และอายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสําคัญ
ทางสถิติ (p-value<0.001) โดยคนที่อายุมากขึ้นมีโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ด้านประสิทธิผลของ
การตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ต่อการเกิดมะเร็งเต้านม พบว่า BI-RADS 4C มีความไว ร้อยละ 84.1
ความจําเพาะ ร้อยละ 88.3 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 88.3 ค่าพยากรณ์ลบ ร้อยละ 81.8 และค่าความถูกต้อง ร้อยละ 85.2
ซึ่งมีประสิทธิผลในการทํานายโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมค่อนข้างสูงและดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ BI-RADS 4B
และดีกว่า BI-RADS 4C กับการศึกษาอื่นๆ ซึ่งสะท้อนว่ากระบวนการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์จากการศึกษา
นี้มีประสิทธิผลอยู่ในระดับสูง สามารถนําไปใช้วางแผนเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยด้วยวิธี
ตรวจชิ้นเนื้อหรือวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมได้
References
World Health Organization. Cancer [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 20]. Available from:
https://www.who.int/health-topics/cancer#tab=tab_1
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข; 2564.
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม. ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chulacancer.net/patientlist-page.php?id=43
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม โรค: ก่อนที่เต้านม
(Breast mass) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.rcst.or.th/web-upload/filecenter/CPG/Breast Mass.html
ปนัดดา จิตวรรณรัตน์. ลักษณะทางรังสีวิทยาเต้านมใน BIRADS 4B, 4C กับผลตรวจขึ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา.
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มกราคม-เมษายน 2562; 34(1): 67–78.
ชัชมานันทน์ สิงหะการ. ประสิทธิผลของการรายงานผลตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม BIRADS 4 และ 5
โรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทยเขต 11 มกราคม-มิถุนายน 2564; 35(1): 113–23.
Malik N, Rauf M, Malik G. Diagnostic Accuracy of Ultrasound Bi-RADS Classification Among
Females Having Breast Lumps, by Taking Histopathology as Gold Standard. J Soc Obstet
Gynaecol Pak 2020; 10(1): 13–6.
Moy L. BI-RADS Category 3 is a safe and effective alternative to biopsy or surgical excision.
Radiology 2020 Jul; 296(1): 42-3. doi: 10.1148/radiol.2020201583. PubMed PMID: 32428420.
Li WM, Sun QW, Fan XF, Zhang JC, Xu T, Shen QQ, et al. Mammography breast density: an
effective supplemental modality for the precise grading of ultrasound BI-RADS 4 categories.
Gland Surg 2021 Jun; 10(6): 2010-8. doi: 10.21037/gs-21-313. PubMed PMID: 34268085.
Cochran WG. Sampling Techniqes. 3rd ed. New York: Wiley & Sons; 1977.
ACR Institute of Radiologic Pathology (AIRP). BI-RADS Mammography Reporting [Internet]. 2013
[cited 2022 Oct 22]; p. 121–40. Available from: https://www.acr.org/-/media/ACR/Files/RADS/BIRADS/Mammography-Reporting.pdf
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ความรู้โรคมะเร็งสําหรับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เขาถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2565].
เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/New_web/service/sv1.html
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ําดี. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.
ธณัศมณฑ์ ภาณุพรพงษ์. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเองในการ
คัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ มกราคม-มิถุนายน
; 7(1): 140–57.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.