การพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
ทารกแรกเกิด, แนวปฏิบัติ, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบบ่อยจึงมีความสำคัญที่ต้องดำเนินการการประเมินและรักษาที่รวดเร็วเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะสมองถูกทำลาย วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดและผลการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอดที่โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 240 ราย และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน ดำเนินการวิจัยวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบบประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) การประเมินความเสี่ยงของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด 2) การแบ่งระดับกลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ 3) การเตรียมการดูแลช่วยเหลือแต่ละระดับ ผลลัพธ์หลังทดลองใช้แนวปฏิบัติ พบว่า ทารกตัวเหลืองในมารดาครรภ์แรกร้อยละ 3.4 ในมารดาคลอดโดยผ่าตัดทางหน้าท้องร้อยละ 8.5 ในมารดาที่มีระดับการไหลของน้ำนมน้อยกว่าระดับ 3 ร้อยละ 9.0 ทารกตัวเหลืองต้องส่องไฟร้อยละ 6.7 น้ำหนักลดลงเฉลี่ยของทารกร้อยละ 6.4 (SD=1.3) มีระดับค่าบิลิรูบินเฉลี่ย 14.3 mg/dl (SD=1.1) ซึ่งลดลงก่อนการทำวิจัย การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติร้อยละ 88.0 และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สรุป การใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ทำให้ประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้ถูกต้องและให้การพยาบาลได้รวดเร็ว ทำให้ค่าบิลิรูบินอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกิดอันตราย ทารกส่องไฟจำนวนลดลง มารดามีน้ำนมเพียงพอ จึงเหมาะสำหรับนำแนวปฏิบัติไปใช้ในหน่วยงานที่ดูแลทารกแรกเกิด
References
วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล. Neonatal Jaundice. ใน: ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, สมใจ กาญจนพงศ์กุล, ศิริลักษณ์ เจนนุวัตร, บรรณาธิการ. Pediatrics. นนทบุรี: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2554. หน้า 441.
สุชีรา แก้วประไพ, สุทธิพรรณ กิจเจริญ, จิราพร สิทธิถาวร. การประเมินแนวปฏิบัติในการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มกราคม-มีนาคม 2559; 24(1): 139-49.
จันทรมาศ เสาวรส. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ มกราคม-มิถุนายน 2562; 9(1): 99-109.
สถิติยอดผู้ป่วยหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วยและหอผู้ป่วยพิเศษมรกต โรงพยาบาลยโสธร [HOSxP]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: hos2@191.168.0.2/hos2.
Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford: Oxford University Press; 2003.
Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011; 19(1): 19-26. PubMed PMID: 21608523.
Boskabadi H, Rakhshanizadeh F, Zakerihamidi M. Evaluation of Maternal Risk Factors in Neonatal Hyperbilirubinemia. Arch Iran Med 2020; 23(2): 128-40. PubMed PMID: 32061076.
Ketsuwan S, Baiya N, Maelhacharoenporn K, Puapornpong P. The Association of Breastfeeding Practices with Neonatal Jaundice. J Med Assoc Thai 2017; 100(3): 255-61. PubMed PMID: 29911780.
Iowa Model Collaborative, Buckwalter KC, Cullen L, Hanrahan K, Kleiber C, McCarthy AM, et al. Iowa Model of Evidence-Based Practice: Revisions and Validation. Worldviews Evid Based Nurs 2017; 14(3): 175-82. doi: 10.1111/wvn.12223. PubMed PMID: 28632931.
รำไพ ศรีเนตร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย Acute gastroenteritis ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา ตุลาคม-ธันวาคม 2563; 5(4): 189-94.
ผ่องศรี ปันเปียง, วันเพ็ญ ใส่ด้วง, สุรัสวดี เวียงสุวรรณ, นันทวัน จันทร์ดา. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วารสารการส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา กรกฎาคม-ธันวาคม 2559; 6(2): 54-9.
กินรี ชัยสวรรค์, ธนพร แย้มสุดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วารสารแพทย์นาวี พฤษภาคม-สิงหาคม 2561; 45(2): 235-49.
อรภัทร วิริยอุดมศิริ. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่อายุ 24, 48 ชั่วโมงหลังคลอดสำหรับทำนายภาวะ breast feeding jaundice ในกลุ่มทารกแรกเกิดครบกำหนด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มกราคม-เมษายน 2561; 33(1): 11-21.
นัยรัตน์ ดุลยวิจักษณ์, พนิดา อยู่ชัชวาล, ชมลรรค กองอรรถ. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนและการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดครบกำหนดที่ได้รับการส่องไฟ โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร กันยายน-ธันวาคม 2563; 23(3): 92-103.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.