การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • พัทยา งามหอม โรงพยาบาลยโสธร

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 19 คน เวชระเบียนผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงก่อนใช้รูปแบบ 50 ฉบับ ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงระหว่างใช้รูปแบบ 59 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง 2) แบบบันทึกคุณภาพการพยาบาล 3) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงที่พัฒนา ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง 2) การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาล 3) การจัดกระบวนการดูแล และ 4) การจัดการความรู้ หลังดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบ พบว่าอัตราการคัดกรองถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.00 เป็นร้อยละ 98.31 ระยะเวลาเฉลี่ยในการขอเลือดด่วนในผู้ป่วยช็อก grade 3-4 ลดลงจาก 37.08 นาที เป็น 12.30 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยที่ได้รับเลือดในผู้ป่วยช็อก grade 3-4 ลดลงจาก 80.04 นาที เป็น 41.54 นาที ร้อยละผู้ป่วยได้รับการประเมินต่อเนื่องตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ74.00 เป็นร้อยละ 89.83 อัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงลดลงจากร้อยละ 22.00 เป็นร้อยละ 8.47 และอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยที่มี Ps > 0.75 ลดลงจากร้อยละ16.22 เป็นร้อยละ 2.28 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ส่วนร้อยละผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ได้รับการผ่าตัดใน 60 นาที เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.00 เป็นร้อยละ 100.00 ร้อยละผู้ป่วยที่อยู่ในห้องฉุกเฉินน้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.00 เป็นร้อยละ 76.27 อุบัติการณ์ผู้ป่วยทรุดลงระหว่างดูแล/เคลื่อนย้ายลดลงจาก 3 ราย เป็น 1 ราย และอัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 26.00 เป็นร้อยละ 20.34 แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผลการประเมินสมรรถนะของพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.84 คะแนน เป็น 4.14 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญ (p < .05) ความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก สรุป รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงที่พัฒนาขึ้น ทำให้การดูแลในแต่ละกระบวนการมีความเหมาะสม ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยบาดเจ็บลดลง และเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในงาน

Author Biography

พัทยา งามหอม , โรงพยาบาลยโสธร

แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

References

กรมควบคุมโรค. ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จากระบบบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/rtddi

Hwang K, Jung K, Kwon J, Moon J, Heo Y, Lee JCJ, et al. Distribution of Trauma Deaths in a Province of Korea: Is “Trimodal” Distribution Relevant Today?. Yonsei Med J 2020; 61(3): 229-34. doi: 10.3349/ymj.2020.61.3.229. PubMed PMID: PMID: 32102123.

พนมวรรณ์ วงศ์วัฒนกิจ, จารุวรรณ ธาดาเดช, อรุณรักษ์ มีใย, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล. ความสัมพันธ์ของปัจจัยการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต. ศรีนครินทร์เวชสาร มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562; 34(1): 52-9.

อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี, ณัฐธยาน์ งามวงษ์, ศิริพร ไกรสังข์, ยุพาพรรณ ชาวสวน, เบญจรัตน์ ภิระพันธ์พานิช, วราภรณ์ มามขุนทด. การรอดชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มกราคม-เมษายน 2563; 3(1): 1-12.

เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, วศินี ปล้องนิราศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงในผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาโดยได้รับการนอนใน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย มกราคม-มิถุนายน 2563; 2(1): 66-76.

Jin WYY, Jeong JH, Kim DH, Kim TY, Kang C, Lee SH, et al. Factors predicting the early mortality of trauma patients. Ulus Travma Acil Cerrahi Derg 2018; 24(6): 532-38. doi: 10.5505/tjtes.2018.29434. PubMed PMID: 30516252.

Committee on Trauma. ATLS Advanced trauma life support. 10th ed. Chicago, Illinois: American College of Surgeons; 2018.

Nikouline A, Quirion A, Jung JJ, Nolan B. Errors in adult trauma resuscitation: a systematic review. CJEM 2021; 23(4): 537–46. doi: 10.1007/s43678-021-00118-7. PubMed PMID: 33914280.

Nolan B, Petrosoniak A, Hicks CM, Cripps MW, Dumas RP. Defining adverse events during trauma resuscitation: a modified RAND Delphi study. Trauma Surg Acute Care Open 2021; 6(1): e000805. doi: 10.1136/tsaco-2021-000805. PubMed PMID: 34746435.

Sarcevic A, Marsic I, Burd RS. Teamwork Errors in Trauma Resuscitation. ACM journals 2012; 19(2): 1-30. doi: 10.1145/2240156.2240161.

ระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลยโสธร. รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ปี 2562-2565. ยโสธร; 2565.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2551.

ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มกราคม-มิถุนายน 2562; 8(15): 112-26.

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติภมร ศิลปะธรรม, ลัดดา มีจันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ มกราคม-มิถุนายน 2557; 6(1): 24-37.

จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบโรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลทหารบก มกราคม-เมษายน 2562; 20(1): 339-50.

จันทิมา พรเชนศวรพงศ์, เพ็ญศรี ละออ, กวินทร์นาฏ บุญชู. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข พฤษภาคม-สิงหาคม 2559; 26(2): 89-102.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล ตุลาคม-ธันวาคม 2561; 33(4): 33-45.

ณภัคคนันท์ ยุวดี, จินดา ผุดผ่อง, นพพรพงศ์ ว่องวิกย์การ, นฤมล จันทร์สุข. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย กันยายน-ธันวาคม 2562; 9(3): 280-95.

จารุณี ฐิติพงษ์พาสน์, อารี ชีวเกษมสุข, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้อย่างเอื้ออาทรตามทฤษฎีสแวนสัน แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก มกราคม-มิถุนายน 2563; 31(1): 198-211.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED Triage. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์; 2561.

Fröhlich M, Driessen A, Böhmer A, Nienaber U, Igressa A, Probst C, et al. Is the shock index based classification of hypovolemic shock applicable in multiple injured patients with severe traumatic brain injury?-an analysis of the TraumaRegister DGU®. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2016; 24(1): 148. doi: 10.1186/s13049-016-0340-2. PubMed PMID: 27955692.

ไชยยุทธ ธนไพศาล, ณรงชัย ว่องกลกิจศิลป์, พะนอ เตชะอธิก, สุมนา สัมฤทธิ์รินทร์. การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บที่ห้องฉุกเฉิน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2562.

Parreira P, Santos-Costa P, Neri M, Marques A, Queirós P, Salgueiro-Oliveira A. Work Methods for Nursing Care Delivery. Int J Environ Res Public Health 2021; 18(4): 2088. doi: 10.3390/ijerph-18-02088. PubMed PMID: 33669955.

สุพัตรา อยู่สุข, พรจันทร์ สุวรรณมนตรี, พิจริยา เจริญรัตน์, น้ำผึ้ง นิลสนธิ. พัฒนารูปแบบการดูแลภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรกฎาคม-ธันวาคม 2560; 13(2): 39-49.

พีรยา คงรอด, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. ผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมต่อคุณภาพบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร เมษายน-มิถุนายน 2562; 46(2): 131-41.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-10-02