ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว ของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เขตการดูแลของโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • คัคนัมพร วะรงค์ โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่แม้จะไม่เสียชีวิต แต่ก็ก่อให้เกิดความทุกข์ยากจากความพิการ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิต การดูแลเป็นระยะเวลายาวย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ดูแลจึงเป็นบุคคลที่รับภาระในการช่วยเหลือตอบสนองความต้องการต่างๆ ซึ่งจะมากน้อยในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สัมพันธภาพในครอบครัว และความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตการดูแลของโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบการศึกษา : การวิจัยภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross-sectional analytical study) วัสดุและวิธีการ: กลุ่มประชากรคือ ผู้ดูแลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีคะแนนการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ≤ 11 และอาศัยอยู่ในเขตการดูแลของโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 180 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวในทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัวด้านการเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณมากที่สุด รองลงมาคือความต้องการด้านการดูแลสุขภาพและความต้องการด้านการประคับประคองจิตใจ กลุ่มตัวอย่างมีสัมพันธภาพในครอบครัวในระดับดีมากและดี (ร้อยละ 56.0 และ 42.4 ตามลำดับ) และส่วนใหญ่มีความเครียดน้อย (ร้อยละ 53.6) การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า ประสบการณ์การเคยดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ต่อความต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัว (p-value=0.018) ปัจจัยด้านอายุของผู้ดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยกับความต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = -0.274, p = 0.002) และความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อยกับความต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.265, p = 0.003) การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะคือ ทีมแพทย์ครอบครัวควรมีมาตรการเชิงบวกที่ส่งเสริมพลังทางจิตวิญญาณให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย และมีการฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างสม่ำเสมอ สรุปผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบความสัมพันธ์ในทางบวกของความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยกับความต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัว และพบว่าจำนวนชั่วโมงที่ดูแลผู้ป่วยต่อวัน สัมพันธภาพในครอบครัว และความสามารถในการดูแลผู้ป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลโดยทีมแพทย์ครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Author Biography

คัคนัมพร วะรงค์ , โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ

วว. เวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

References

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2556.

กุลธิดา พานิชกุล. ความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะพักรักษาตัวที่บ้าน [เอกสารประกอบการประชุม]. ประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่องบูรณาการแห่งวิธีวิทยา: สื่อสังคมและการจัดการ; วันที่ 22 มีนาคม 2556; ณ โรงแรมโนโวเทลหัวหินชะอำบีชรีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

อังคณา บุญศรี, สุกัญญา ทองบุผา. ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรูปแบบ Stroke Digital service. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กันยายน-ธันวาคม 2563; 5(3): 36-44.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2564.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุขที่สำคัญ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.

Yamane T. Statistics: an Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row; 1973.

อรอนงค์ กูลณรงค์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์. ความพร้อมในการดูแล สัมพันธภาพในครอบครัว และความเครียดในบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มกราคม-เมษายน 2555; 4(1): 14-27.

รสศุคณธ์ เจืออุปถัมย์. ความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551; 16(3): 177-84.

กรรณิกา รักยิ่งเจริญ. การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี มกราคม-มิถุนายน 2557; 25(1): 90-7.

บุษยมาส บุศยารัศมี. ความต้องการการดูแลโดยทีมหมอครอบครัว ของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตเทศบาลนครนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 เมษายน-มิถุนายน 2561; 37(2): 192-200.

สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์, กุลธิดา พานิชกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ พฤษภาคม-ธันวาคม 2559; 32(2): 68-80.

อรุณี ชุนหบดี, ธิดารัตน์ สุภานันท์, โรชินี อุปรา, สุนทรีภรณ์ ทองไสย. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2556; 24(1): 1-9

นงนุช เพ็ชรร่วง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, วิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก มกราคม-เมษายน 2556; 14(1): 25-34.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-10-02