การพัฒนาแนวปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นนทภา โรงพยาบาลยโสธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กพัฒนาและปรับปรุง และระยะที่ 4 นำสู่การปฏิบัติและประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ใช้บริการ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 80 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลังจำนวน 74 ราย 2) กลุ่มผู้ให้บริการ คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกและแบบประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพการรักษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด (2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทาง (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรต่อการนำแนวทางปฏิบัติฯ ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา สถิติทดสอบ t-test และ chi-square ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ครอบคลุมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 4 ระยะ คือ การพยาบาลระยะแรกรับ การพยาบาลเบื้องต้น การพยาบาลระยะต่อเนื่องและการพยาบาลระยะจำหน่าย ประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติฯ ด้านผู้รับบริการ ดังนี้ (1) ระยะเวลาที่ได้รับคัดกรองเข้า Sepsis fast track เฉลี่ย 8 นาที (Mean = 7.02) ระยะเวลาการเจาะเลือดเพาะเชื้อเฉลี่ย 22 นาที (Mean =21.11) และระยะเวลาการได้รับยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 37 นาที (Mean = 36.56) หลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านผู้รับบริการดีขึ้น โดยระยะเวลาการเจาะเลือดเพาะเชื้อหลังการพัฒนาแตกต่างจากก่อนการใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) (2) การได้รับสารน้ำเพียงพอภายใน 1 ชั่วโมง ร้อยละ 100 มากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลลัพธ์การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านผู้ให้บริการ พบว่า (3) แนวปฏิบัติฯ สามารถปฏิบัติตามได้ทุกกิจกรรมของการพยาบาลทุกระยะอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.67, S.D. = 0.48) สรุป แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่พัฒนา ทำให้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลดีขึ้น ลดอัตราภาวะช็อกเมื่อครบเป้าหมายการรักษา 6 ชั่วโมง และลดอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง

Author Biography

ศศิธร นนทภา , โรงพยาบาลยโสธร

แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

References

World Health Organization. Improving the prevention, diagnosis and clinical management of sepsis [Internet]. 2017 [cited 2022 Sep 20]. Available from: https://www.who.int/activities/improving-the-prevention-diagnosis-and-clinical-management-of-sepsis

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผูปวยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ มกราคม-เมษายน 2563; 7(1): 319–30.

Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock 2021. Crit Care Med 2021; 49(11): e1063-e1143. doi:10.1097/CCM.0000000000005337. PubMed PMID: 34605781.

สุทธิชัย แก้วหาวงค์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลระยะ 1 ชั่วโมงแรกต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกงานฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2563; 38(1): 196-206.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย SEVERE SEPSIS และ SEPTIC SHOCK (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf

ระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลยโสธร. รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต. ยโสธร; 2565.

Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford: Oxford University Press; 2003.

Titler MG, Kleiber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, et al. The Iowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care. Crit Care Nurs Clin North Am 2001; 13(4): 497-509. PubMed PMID: 11778337.

Levy MM, Evans LE, Rhodes A. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 update. Intensive Care Med 2018; 44(6): 925-28. doi:10.1007/s00134-018-5085-0. PubMed PMID: 29675566.

บราลี ศีลประชาวงศ์. ผลลัพธ์การใช้แนวทางเวชปฏิบัติรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลตรัง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 กรกฎาคม-กันยายน 2563; 34(3): 35-46.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ กรกฎาคม-กันยายน 2560; 35(3): 224–31.

Bunyaphatkun P, Sindhu S, Davidson PM, Utriyaprasit K, Viwatwongkasem C, Chartbunchachai W. Factors Influencing Clinical Deterioration in Persons with Sepsis. Pacific Rim Int J Nurs Res 2017; 21(2): 135-147.

พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2561; 36(1): 207–15.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร, วไลพร ปักเคระกา, จุลินทร ศรีโพนทัน, นิสากร วิบูลชัย, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, รุ่งนภา ธนูชาญ, และคณะ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อปองกันอาการทรุดลงทางคลินิก ในผูปวยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2564; 27(2): 151-64.

กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า กรกฎาคม-กันยายน 2560; 34(3): 222-34.

จริยา พันธุ์วิทยากูล, จิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกองการพยาบาล มกราคม-เมษายน 2561; 45(1): 86-104.

ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์, จรินทร โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2562; 37(1): 221-30.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-10-02