การพัฒนาแนวปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
แนวปฎิบัติการพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลฉุกเฉินบทคัดย่อ
ารวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กพัฒนาและปรับปรุง และระยะที่ 4 นำสู่การปฏิบัติและประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ใช้บริการ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 80 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลังจำนวน 74 ราย 2) กลุ่มผู้ให้บริการ คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกและแบบประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพการรักษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด (2) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทาง (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรต่อการนำแนวทางปฏิบัติฯ ไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา สถิติทดสอบ t-test และ chi-square ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลยโสธร ครอบคลุมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 4 ระยะ คือ การพยาบาลระยะแรกรับ การพยาบาลเบื้องต้น การพยาบาลระยะต่อเนื่องและการพยาบาลระยะจำหน่าย ประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติฯ ด้านผู้รับบริการ ดังนี้ (1) ระยะเวลาที่ได้รับคัดกรองเข้า Sepsis fast track เฉลี่ย 8 นาที (Mean = 7.02) ระยะเวลาการเจาะเลือดเพาะเชื้อเฉลี่ย 22 นาที (Mean =21.11) และระยะเวลาการได้รับยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 37 นาที (Mean = 36.56) หลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านผู้รับบริการดีขึ้น โดยระยะเวลาการเจาะเลือดเพาะเชื้อหลังการพัฒนาแตกต่างจากก่อนการใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) (2) การได้รับสารน้ำเพียงพอภายใน 1 ชั่วโมง ร้อยละ 100 มากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลลัพธ์การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านผู้ให้บริการ พบว่า (3) แนวปฏิบัติฯ สามารถปฏิบัติตามได้ทุกกิจกรรมของการพยาบาลทุกระยะอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.67, S.D. = 0.48) สรุป แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่พัฒนา ทำให้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลดีขึ้น ลดอัตราภาวะช็อกเมื่อครบเป้าหมายการรักษา 6 ชั่วโมง และลดอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง
References
World Health Organization. Improving the prevention, diagnosis and clinical management of sepsis
[Internet]. 2017 [cited 2022 Sep 20]. Available from: https://www.who.int/activities/improving-theprevention-diagnosis-and-clinical-management-of-sepsis
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผูปวยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th
นนทรัตน์ จ าเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการ
ติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ มกราคม-เมษายน 2563; 7(1):
–30.
Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving Sepsis
Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock 2021. Crit Care Med
; 49(11): e1063-e1143. doi:10.1097/CCM.0000000000005337. PubMed PMID: 34605781.
สุทธิชัย แก้วหาวงค์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลระยะ 1 ชั่วโมงแรกต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรใน
ผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกงานฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม
; 38(1): 196-206.
สมาคมเวชบ าบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย SEVERE SEPSIS และ SEPTIC SHOCK
(ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf
ระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลยโสธร. รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต. ยโสธร; 2565.
Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford: Oxford University Press; 2003.
Titler MG, Kleiber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, et al. The Iowa Model of EvidenceBased Practice to Promote Quality Care. Crit Care Nurs Clin North Am 2001; 13(4): 497-509. PubMed
PMID: 11778337.
Levy MM, Evans LE, Rhodes A. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 update. Intensive Care
Med 2018; 44(6): 925-28. doi:10.1007/s00134-018-5085-0. PubMed PMID: 29675566.
บราลี ศีลประชาวงศ์. ผลลัพธ์การใช้แนวทางเวชปฏิบัติรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของโรงพยาบาลตรัง.
วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 กรกฎาคม-กันยายน 2563; 34(3): 35-46.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแส
โลหิต. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ กรกฎาคม-กันยายน 2560; 35(3): 224–31.
Bunyaphatkun P, Sindhu S, Davidson PM, Utriyaprasit K, Viwatwongkasem C, Chartbunchachai W.
Factors Influencing Clinical Deterioration in Persons with Sepsis. Pacific Rim Int J Nurs Res 2017; 21(2):
-147.
พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อใน
โรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2561; 36(1): 207–15.
คนึงนิจ ศรีษะโคตร, วไลพร ปักเคระกา, จุลินทร ศรีโพนทัน, นิสากร วิบูลชัย, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, รุ่งนภา ธนูชาญ,
และคณะ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อปองกันอาการทรุดลงทางคลินิก ในผูปวยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. วารสาร
สุขภาพและการศึกษาพยาบาล กรกฎาคม-ธันวาคม 2564; 27(2): 151-64.
กรรณิกา อ าพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อใน
กระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า กรกฎาคมกันยายน 2560; 34(3): 222-34.
จริยา พันธุ์วิทยากูล, จิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสาร
กองการพยาบาล มกราคม-เมษายน 2561; 45(1): 86-104.
ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์, จรินทร โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2562; 37(1): 221-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2025-07-03 (2)
- 2023-10-02 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ยโสธรเวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของยโสธรเวชสาร