ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูงโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ผูกขวัญ ปาเส โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, การบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง (Heated humidified high flow nasal cannula: HHHFNC) โรงพยาบาลมหาสารคาม และศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติ โดยประยุกต์จากแบบประเมิน PEWS (Pediatric early warning score) สำหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นเครื่องมือประเมินเบื้องต้น แล้วสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมและได้รับเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 13 คน และ 2) กลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 13 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง 2) แบบบันทึกการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และ 3) แบบบันทึกจำนวนวันนอนและค่ารักษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ Independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวปฏิบัติมีความตรงเชิงเนื้อหาการหาค่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จนเกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง และ 2) จำนวนวันนอนและค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยเด็ก ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Hasan R, Rhodes J, Thamthitiwat S, Olsen SJ, Prapasiri P, Naorat S, et al. Incidence and etiology of acute lower respiratory tract infections in hospitalized children younger than 5 years in rural Thailand. Pediatric Infect Dis J 2014 Feb; 33(2): e45-52. doi: 10.1097/INF.0000000000000062. PubMed PMID: 24030346.

Munagala VK, Uma Mahesh RM, Kandati J, Ponugoti M. Clinical study of lower respiratory tract infections in children attending a tertiary care hospital. Int J of Contemp Pediatr 2017 Sep; 4(5): 1733-36.

doi: 10.18203/2349-3291.ijcp20173775.

Hall JE. Guyton and Hall Textbook of Medical physiology. 12th ed. Philadelphia: Saunders Elsevier; 2010.

ยุวดี คงนก. เปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างและมีภาวะหายใจลำบากด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนมาตรฐาน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เมษายน-กันยายน 2564; 5(10): 1-10.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยตายโรคปอดบวมในเด็กไทย อายุ 1 เดือนถึง 5 ปีบริบูรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc

Can FK, Anil AB, Anil M, Zengin N, Bal A, Bicilioglu Y, et al. Impact of High-flow Nasal Cannula Therapy in Quality Improvement and Clinical Outcomes in a Non-invasive Ventilation Device free Pediatric Intensive Care Unit. Indian Pediatr 2017 Oct; 54(10): 835-40. doi: 10.1007/s13312-017-1145-8. PubMed PMID: 28699611.

ประภาพรรณ วีระศิริ. แบบประเมินผู้ป่วยเด็กติดเชื้อและปอดอักเสบ PEWS. ใน: เอกสารสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 รอบที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ฉัตรกมล ชูดวง, อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. การจัดการความรู้ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kmmnstteam.wixsite.com/kmmnst/forum/wicchay-r2r/phlkaaraich-high-flow-nasal-cannula-hfnc-ainphuupwyedkthiimiiphaawahaayaicchlambaak

อำพันธุ์ พรมีศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, พรพรรณ เมตไตรพันธ์, กรรณิการ์ ศรีพระราม. ประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข กันยายน-ธันวาคม 2562; 29(3): 118-30.

เยาวภา จันทร์มา, สุพรรณ วงค์ตัน, วรรณา สุธรรมา, อำพร กอรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง โรงพยาบาลนครพิงค์. พยาบาลสาร กรกฎาคม-กันยายน 2564; 48(3): 290-304.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-10-02