ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะปอดติดเชื้อของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาใน Hospitel กิจตรง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการส่งต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเข้ารับการรักษาใน Hospitel กิจตรง เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
บทคัดย่อ
โรคโควิด-19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ที่มีชื่อว่า Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 หรือ SARS-CoV-2 เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว พบผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลก สำหรับการระบาดในประเทศไทย ระหว่างเมษายน – ตุลาคม พ.ศ. 2564 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,883,161 ราย เสียชีวิตสะสม 19,111 ราย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Analytic Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะปอดติดเชื้อของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาใน Hospitel กิจตรง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการส่งต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเข้ารับการรักษาที่ Hospitel กิจตรง เพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาล ศึกษาเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่ Hospitel กิจตรง ช่วงระหว่างวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 766 ฉบับ โดยการศึกษาจากแบบรายงานการสอบสวนโรคและข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่สแกนในระบบ HosXP ตามแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square, (p<.05) และสถิติถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) นำเสนอค่าอัตราเสี่ยง (odds ratio: OR) ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% CI, p<.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะปอดติดเชื้อของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ อายุระหว่าง 40-59 ปี (ORadj=2.53; 95%CI=1.45-4.39) มีโรคประจำตัว (ORadj=2.27; 95%CI=1.22-4.20) มีโรคเบาหวาน (ORadj=4.35; 95%CI=1.72-11.01) ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการส่งต่อเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) คือ มีภาวะปอดติดเชื้อ (ORadj=5.62; 95%CI=2.48-12.73) จากผลของการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ควรให้ความรู้เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และเฝ้าระวังภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มนี้ ตระหนักและให้ความสำคัญในประเด็นของการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อทำการรับเข้ารักษาใน Hospitel ให้การดูแล รักษา ทั้งโรคโควิด-19 และโรคประจำตัวอย่างเหมาะสม และในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดติดเชื้อ ควรพิจารณาส่งต่อเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลหากพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น
References
World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2020 [cited 2023 Jul 23]. Available from: https://who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it.
World Health Organization. Timline: WHO’s COVID-19 response [Internet]. 2020 [cited 2023 Jul 23]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/interactive-timeline.
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 48 (ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/170764.pdf
กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลรักษา : แนวทางการดำเนินการหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (HOSPITEL) สำหรับผู้ป่วย COVID-19 มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีโรคร่วมหรือมีโรคร่วมสำคัญที่ควบคุมได้ (ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม 2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentid=138
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 31 กรกฏาคม 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/310764.pdf
พรรณระพี ศรีชมภู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคปอดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ได้รับการรักษา ที่โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มกราคม-เมษายน 2566; 38(1): 201-9.
ฐานุพงศ์ เอี่ยมวรกิตติ์. ปัจจัยทำนายการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 โรงพยาบาลกันทรลักษ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://healthregion10.moph.go.th/ชื่อผลงาน-ปัจจัยทำนายก/
สิทธิชัย บรรจงเจริญเลิศ, พิศาล ชุ่มชื่น. อัตราตาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต มกราคม-เมษายน 2565; 2(1): 25-37.
นงนุช จตุราบัณฑิต. ปัจจัยทำนายระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 จังหวัดพังงา. วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565; 53(27): 409-19.
ศิริลักษณ์ ไทยเจริญ, สุกาญดา หมื่นราษฎร์, สุรชาติ โกยดุลย์, ละมุน แสงสุวรรณ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565; 53(7): 93-101.
สายวลุุน จันทคาม, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, นันทกร แสนราชา, รวิสรา บรรลือ, อนุชา ไทยวงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม กันยายน-ธันวาคม 2565; 19(3): 177-88.
ธนสรณ์ ศรีใช้ประวัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มกราคม-เมษายน 2566; 19(1): 47-60.
ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา มกราคม-มีนาคม 2565; 7(1): 64-71.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.