ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วธุสิริ ฝั่นคำอ้าย พย.ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าต้นกวา ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2; โปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเอง; พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง คะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังใช้โปรแกรมการดูแลตนเอง ระหว่างเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2566 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 35 คน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเอง ตามที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นและกลุ่ม

ควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 2) แบบประเมินพฤติกรรม 3) แบบประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน 4) แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยที่ 1) แบบประเมินพฤติกรรม ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ 0.85 2) แบบประเมินความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ใช้ค่า KR-20 ได้ค่า 0.60 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ สถิติ pair t- test และIndependent t- test

ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับดีมากสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานหลังใช้โปรแกรม ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเอง มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก โดยที่ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองทั่วไป 3) คะแนนความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ในกลุ่มทดลอง มีคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4) ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ของผู้ป่วยเบาหวาน ในกลุ่มทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

สรุป ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี คือ ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับดีมากสูงกว่าก่อนการใช้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

References

World Health Organization. DM data and statistics 2017 [Internet]. 2017 [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

พัชรินทร์ เชื่อมทอง, นิภา กิมสูงเนิน, รัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ มกราคม-มีนาคม 2563; 43(1): 78-86.

Pender NJ. Health promotion in nursing practice. 3nd ed. Stamford, Conn: Appleton & Lenge; 1996.

ข้อมูลเวชระเบียน. ข้อมูลผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2566. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผึ้ง; 2566.

ทัศนีย์ ขันทอง, แสงอรุณ อิสระมาลัย, พัชรี คมจักรพันธุ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินชูลิน. วารสารสภาการพยาบาล มกราคม-มีนาคม 2556; 28(1): 85-99.

Kawi, J. Self-Management Support in Chronic Illness Care: A Concept Analysis. Res Theory Nurs Pract 2012; 26(2): 108-25. doi: 10.1891/1541-6577.26.2.108. PubMed PMID: 22908431.

จุฑามาศ จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา กรกฎาคม-ธันวาคม 2555; 7(2): 69-83.

จันทรา สุวรรณอยู่ศิริ, รักชนก จันทร์เพ็ญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล มกราคม-เมษายน 2562; 4(1): 35-48.

จุฑารัตน์ รังษา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้ผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

สุริยาภรณ์ อุทรักษ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22