การพยาบาลทารกแรกเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากที่ได้รับการรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อรณัญช์ อภิรัชต์ธร โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลทารกแรกเกิด; กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด; สารลดแรงตึงผิว

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (RDS) ในอายุครรภ์น้อยจะแสดงอาการหายใจลำบากแบบรุนแรงจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นอาการหายใจลำบากจะลดลง การรักษาด้วยสาร Surfactant จะช่วยให้ถุงลมปอดพอง และการให้เครื่องช่วยหายใจแบบให้มีลมค้างในถุงลมปอดช่วงหายใจออก (PEEP) จะทำให้แลกเปลี่ยนก๊าซได้ พยาบาลมีส่วนสำคัญในแผนการรักษาของแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกรับ ต่อเนื่องและระยะก่อนจำหน่าย โดยให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล เพื่อให้ทารก RDS ปลอดภัย ไม่เกิดความพิการและรอดชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลทารกแรกเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากที่ได้รับการรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาทารก RDS ได้รับการรักษาด้วยสาร Surfactant ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลและการพยาบาลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา: ทารกรายที่ 1 มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีภาวะแทรกซ้อนขณะรักษา ได้แก่ Hypothermia, PDA, Pneumonia, Sepsis และ BPD ให้การพยาบาลเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ดูแลให้ยารักษา Indomethacin เพื่อรักษาภาวะ PDA และดูแลให้ยาพ่น Budesonide เพื่อรักษาภาวะ BPD ดูแลให้นมชนิด Infatrini เพื่อเพิ่มน้ำหนัก ทารกดูดนมเองได้เมื่ออายุ 60 วัน ใช้เวลารักษา 64 วัน ทารกรายที่ 2 อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ มีภาวะ Congenital pneumonia ร่วมด้วย ดูแลให้นมแม่ ดูดนมเองได้เมื่ออายุ 30 วัน ใช้เวลารักษา 33 วัน โดยทารกทั้ง 2 ราย ระยะแรกรับให้การรักษาด้วยสาร Surfactant ให้ออกซิเจนทางเครื่องช่วยหายใจ ระยะต่อเนื่องให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อนและดูแลให้นมแม่เพื่อเพิ่มน้ำหนักตามแผนการรักษา ระยะก่อนจำหน่ายดูแลกระตุ้นพัฒนาการโดยให้บิดามารดามีส่วนร่วม  

สรุป: ทารก RDS ที่ได้รับสาร Surfactant และได้รับออกซิเจนจากเครื่องช่วยหายใจ พยาบาลที่ปฏิบัติงานใน NICU จะต้องสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินอาการวิกฤตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสามารถให้การช่วยเหลือทารกได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการให้การพยาบาลแบบองค์รวม

Author Biography

อรณัญช์ อภิรัชต์ธร, โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

พย.ม. หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด

References

ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. ตำราการพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 5 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). เล่ม 2. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2561.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง). เล่ม 2. นนทบุรี: ธนาเพรส; 2560.

มัณทนาวดี เมธาพัฒนะ. การพยาบาลทารกแรกเกิด [เอกสารประกอบการสอน]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2564.

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. ตำราการพยาบาลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2558.

Pilliteri A. Maternal and child health nursing: Care of the childbearing and childrearing family. 6th ed. Philadelphia: Lippincot; 2014.

Samir EA, Mahmoued FS, Bayoumi MH. Effect of evidence-based guidelines on nurses' performance regarding care of high risk neonates undergoing surfactant replacement therapy. BJAS 2023; 8(4): 23-32. doi: 10.21608/BJAS.2023.194800.1079.

วารสารการแพทย์. Survanta intratracheal (beractant) ผลข้างเคียง ปฏิกิริยา การใช้และรอยประทับยา [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://th.oldmedic.com/beractant.

โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. ข้อมูลยาที่เสนอเข้าบัญชีรายการยา โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ปี 2565 (รอบที่ 1) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.srisangworn.go.th/depart/ pharmacy/…Poractant%20alfa.pdf.

วรุณสิริ หงส์ลดารมภ์, เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. Trauma in Pregnancy [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2532/

อรุณี ประพฤติตรง. ผลลัพธ์ของการให้ Surfactant ด้วยวิธี INSURE เทียบกับการให้ Surfactant วิธีเดิมในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีปัญหา Respiratory distress syndrome. วารสารวิชาการสำานักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เมษายน-กันยายน 2563; 4(8): 177-87.

Terrin G, Coscia A, Boscarino G, Faccioli F, Di Chiara M, Greco C, et al. Long-term effects on growth of an energy-enhanced parenteral nutrition in preterm newborn: A quasi experimental study. PLoS ONE 2020; 15(7): e0235540. doi: 10.1371/journal.pone.0235540. PubMed PMID: 32628715.

Liu J, Kong K, Tao Y, Cai W. Optimal timing for introducing enteral nutrition in the neonatal intensive care unit. Asia Pac J Clin Nutr 2015; 24(2): 219-26. doi: 10.6133/apjcn.2015.24.2.14. PubMed PMID: 26078238.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22