การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อรทัย พรรณานนท์ โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล; โรคปอดอักเสบ; โควิด-19; ภาวการณ์หายใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

เชื้อโควิด-19 ทำลายระบบทางเดินหายใจจากจมูกลงไปถึงถุงลมปอด มีลักษณะพิเศษคือก่อโรครุนแรง มีความสามารถในการกระตุ้นปฎิกิริยาการอักเสบ ส่งผลให้การติดเชื้อลุกลามไปถึงถุงลมปอดได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรงมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและผู้สูงอายุ พยาบาลต้องสามารถดูแลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ดูแลให้ยาต้านเชื้อไวรัสได้อย่างทันท่วงที สังเกต ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและเตรียมการช่วยชีพอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยแยกโรควิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือพฤษภาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลและดูแลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นผู้ชาย รักษาด้วยออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้รับการดูแลรักษาในห้องแยกเฉพาะโรคที่มีมาตรฐานการควบคุมโรค ได้รับยาต้านเชื้อไวรัส Remdesivir และยาป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (VTE prophylaxis) คือยา Enoxaparin รายที่ 1 อายุ 37 ปี เป็นผู้ป่วยติดเชื้อโรคเอดส์ มีอาการเริ่มแรกไข้ต่ำและหายใจลำบาก ได้รับยาต้านการอักเสบและยาต้านเชื้อรา อาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจและจำหน่ายกลับบ้านได้ นอนโรงพยาบาล 11 วัน รายที่ 2 อายุ 74 ปี เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน อาการเริ่มแรกมีน้ำมูก ไอและหายใจลำบาก รักษาที่โรงพยาบาลลูกข่ายมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ส่งต่อมารักษา ได้รับยาต้านแบคทีเรียหลายชนิด ได้รับยารักษาภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จนกระทั่งอาการดีขึ้น หย่าเครื่องช่วยหายใจและจำหน่ายกลับบ้านได้ นอนโรงพยาบาล 23 วัน

สรุป: การให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 ที่สำคัญคือการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยสู่ตนเองและผู้อื่น พยาบาลจะต้องสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยสอดคล้องกับแผนการรักษาในห้องแยกที่ควบคุมพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและหายจากโรค และเมื่อจำหน่ายให้คำแนะนำผู้ป่วยให้แยกกักตัวในรายที่อยู่รักษาไม่ถึง 21 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น

Author Biography

อรทัย พรรณานนท์, โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

พย.บ. หอผู้ป่วยแยกโรควิกฤตทางเดินหายใจ

References

แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ 1 โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://phoubon.in.th/covid-19..../.pdf

สยมพร ศิรินาวิน. โควิด-19: ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2563.

Cillóniz C, Cardozo C, García-Vidal C. Epidemiology, pathophysiology, and microbiology of community acquired pneumonia. Annals of Research Hospitals 2018; 2(1); 1-11. doi: 10.21037/arh.2017.12.03.

อภิชาติ คณิตทรัพย์. ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ. ใน: ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ Geriatric Medicine. ปทุมธานี: กรุงเทพเวชสาร; 2561: 201-2.

Worldometers. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC [Internet]. 2023 [Cited 2023 Aug 25]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus

World Health Organization Thailand. สถานการณโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ในประเทศไทย 21 ธันวาคม 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.who.int/media/ docs/default-source/searo/thailand/2022_12_21_tha-sitrep-254-covid-19_th.pdf?sfvrsn=c0e033ee_1

ศุภโชค เกิดลาภ. COVID-19 Care Plan: สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/med/th/news/announcement/30082021-1837-th

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก. แนวปฏิบัติทางการพยาบาล โรคปอดบวมในเด็ก. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2562.

Jain V, Vashisht R, Yilmaz G, Bhardwaj A. Pneumonia Pathology [Internet]. 2023 [Cited 2023 Aug 29]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526116/

อิสรา โยริยะ. การดูแลของพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการจัดท่านอนคว่ำในผู้ป่วยซึ่งมีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย กรกฎาคม-ธันวาคม 2563; 13(2): 62-73.

เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์. การพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายใจลำบากด้วยการนอนคว่ำ (Prone position) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thainapci.org/2021/wp-content/uploads/2021/ 05/V4-Awake-Prone-Position-in-COVID-2-3.pdf

ตุลา วงศ์ปาล. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย วิกฤตทางอายุรกรรมให้ได้ผลลัพธ์ที่สุดยอด. สวนดอก วาไรตี้ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w2.med.cmu.ac.th/suandok-variety/wp-content/ uploads/2022/02/091_...pdf?x34279

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22 — Updated on 2024-06-25

Versions