ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย Acute gastroenteritis ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • รำไพ ศรีเนตร โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

Acute gastroenteritis, Dehydration, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis ที่นอนโรงพยาบาล ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - พฤศจิกายน 2566 โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะเด็ก อายุ 1-5 ปี ในกลุ่มควบคุม จำนวน 35 ราย กลุ่มทดลอง จำนวน 35 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม จำนวน 10 คน รูปแบบการพยาบาลเป็นการใช้สื่อการสอนแบบวิดิทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการพยาบาล โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ออกแบบสื่อการสอนแบบวิดิทัศน์ 2) การนำรูปแบบทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริง 3) การประเมินผลลัพธ์ภายหลังจากการใช้รูปแบบทางการพยาบาล ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการพยาบาล ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ ได้แก่ 1) ภาวะ Severe dehydration ขณะนอนโรงพยาบาล 2) การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน 3) คะแนนความรู้ของผู้ดูแลเด็ก Acute gastroenteritis 4) ความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภายหลังการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis 2) สื่อการสอนแบบวิดิทัศน์ให้ความรู้เรื่องโรค เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกตัวชี้วัด  2) แบบประเมินความรู้ของผู้ดูแลเด็ก Acute gastroenteritis 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการพยาบาล 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภายหลังการนำรูปแบบไปใช้ และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมผู้ดูแลเด็ก เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยตรวจสอบความตรง โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ดูแลเด็กและแบบประเมินพฤติกรรมผู้ดูแลเด็ก ตรวจสอบความเที่ยงโดย Alpha cronbrach ได้ค่า 0.85, 0.88 และ 0.82 ตามลำดับ และใช้ KR-20 ในแบบทดสอบความรู้ ได้ค่า 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในข้อมูลที่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังกลุ่มเดียวกันใช้สถิติ pair t-test

ผลการวิจัย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการพยาบาล พยาบาลมีความพึงพอใจระดับสูงต่อการใช้รูปแบบการพยาบาล ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ ได้แก่ 1) ภาวะ Severe dehydration ขณะนอนโรงพยาบาลลดลง 2) การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ลดลง 3) คะแนนความรู้ของผู้ดูแลเด็กเพิ่มขึ้นกว่าก่อนใช้รูปแบบการพยาบาล 4) ความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภายหลังการนำรูปแบบการพยาบาลมีความพึงพอใจระดับสูง และ      5) พฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลหลังทดลองอยู่ในระดับสูงขึ้น

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานโรคระบบเฝ้าระวัง (506) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/boedb/d506

ระบบข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลยโสธร. สรุปรายงาน PCT กุมารเวชกรรม. ยโสธร; 2566.

นคร พันธุ์ณรงค์. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการเรียนรู้อย่างมีความสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http//www.yupparaj.ac.th/education/topic102.doc

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

พนมวรรณ ผลสาลี่. การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก ตามทฤษฎีการถ่ายโยงความรู้ เรื่อง การออมเพื่ออนาคต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี; 2561.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มกราคม-มิถุนายน 2556; 5(1): 7-20.

พิลาศศิริ เสริมพงษ์, พิชญาภา ยวงสร้อย. การพัฒนาชุดสื่ออินโฟกราฟิกให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนตามฐานวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรม กรกฎาคม-ธันวาคม 2564; 4(2): 119-39.

ปาณิสรา ศิลาพล, กอบสุข คงมนัส. ผลการใช้อินโฟกราฟิกร่วมกับกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะ ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน เมษายน-มิถุนายน 2560; 10(2): 185-94.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22