พัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่คลินิกฝากครรภ์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ภัทรนิษฐ์ ไกรโสภา โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล; หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพท์รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่คลินิกฝากครรภ์ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยโสธร ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 สิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ จำนวน 45 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์และข้อมูล ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ระยะที่ 3 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 4 เป็นการประเมินผลลัพท์ที่เกิดขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน สื่อนำเสนอภาพนิ่งและแอปพลิเคชัน Line Official Account “เลือดข้น คนไม่จาง” 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ ซึ่งการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา CVI เท่ากับ 1 ทดสอบความเชื่อมั่นด้วย KR-21 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.71 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการให้ความรู้และการแจ้งเตือนของแอปพลิเคชัน Line Official Account “เลือดข้น คนไม่จาง” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ pair t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการดูแลประกอบด้วยชุดแผนการสอน สื่อนำเสนอภาพนิ่งและแอปพลิเคชัน Line Official Account “เลือดข้น คนไม่จาง” 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 64.45) ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 (ร้อยละ 46.67) อายุครรภ์เฉลี่ย 14.56 สัปดาห์ คะแนนความรู้ด้านภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 2.53 (S.D.=0.97) หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 3.58 (S.D.=0.66) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ด้านการรับประทานอาหารเพื่อลดภาวะโลหิตจาง ก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 5.60 (S.D.=1.80) หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 7.36 (S.D.=1.8) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ด้านการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 8.24 (S.D.=2.3) หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 10.62 (S.D.=1.80) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ส่วนด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 2.56 (S.D=0.66) หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 2.67 (S.D.= 0.52) ไม่แตกต่างกัน สำหรับคะแนนความรู้โดยรวมก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 18.91 (S.D.= 4.16) หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 24.11 (S.D.=3.51) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ระดับความเข้มข้นของเลือด ก่อนให้ความรู้เฉลี่ยร้อยละ 30.67 หลังให้ความรู้เฉลี่ยร้อยละ 33.61 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันไลน์ แยกรายด้าน สูงสุดคือด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เฉลี่ย 4.89 (S.D.=0.32) รองลงมาคือด้านข้อมูล/เนื้อหา เฉลี่ย 4.79 (S.D.=0.41) ด้านที่ต่ำสุดคือด้านรูปแบบ เฉลี่ย 4.77 (S.D.= 0.42) เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่าข้อที่มีคะแนนสูงสุดคือภาษาเข้าใจง่าย กระชับ อธิบายข้อมูลได้ชัดเจน เฉลี่ย 4.89 (S.D.= 0.32) และช่วยกระตุ้นเตือนการรับประทานยาและอาหารได้ เฉลี่ย 4.89 (S.D.= 0.32) รองลงมาคือ ข้อมูล/เนื้อหามีความน่าสนใจ เฉลี่ย 4.87(S.D.=0.34) ข้อที่มีคะแนนต่ำสุดคือข้อมูลที่นำเสนอครบถ้วนตรงกับความต้องการ เฉลี่ย 4.60 (S.D.=0.58) ความพึงพอใจในภาพรวมทุกข้อ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด เฉลี่ย 4.87 (S.D.=0.34)

สรุป ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดผลลัพท์ที่ดีทำให้มีความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ระดับความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น

Author Biography

ภัทรนิษฐ์ ไกรโสภา , โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร

พย.บ. คลินิกฝากครรภ์ แผนกผู้ป่วยนอก    

References

American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Practice Bulletin No. 95: Anemia in Pregnancy. Obstetrics & Gynecology 2008; 112(1): 201-7. doi: 10.1097/AOG.0b013e3181809c0d.

Cunningham FG, Leveno KJ, Gilstrap LC, Westrom KD. Williams’s obstetrics. 25th ed. New York: McGraw-Hill; 2018.

World Health Organization. Anaemia in women and children: WHO Global Anaemia estimates, 2021 Edition [Internet]. 2021 [cited 18 Mar 2023]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children

HDC Dashboard. การใช้บริการสาธารณสุข [Internet]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

Brannon PM, Taylor CL. Iron supplementation during pregnancy and infancy: Uncertainties and implications for research and policy. Nutrients 2017; 9(12): 1327. doi: 10.3390/nu9121327. PubMed PMID: 29210994.

Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. New York: Oxford University Press; 2003.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

มนุเชษฐ์ บุญสมบูรณ์สกุล. แต่ละ GEN เสพคอนเทนต์แบบไหน? [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566].เข้าถึงได้จาก: https://www.agenda.co.th/social/content-generation/

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชั่น.วารสารนักบริหาร ตุลาคม-ธันวาคม 2556; 33(4): 42-54.

จันทกานต์ กาญจนเวทางค์, แมนวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล, สุชาดา สิทธิวงศ์. รายงานการวิจัย: การประยุกต์ใช้นวัตกรรมโปรแกรมประยุกต์ “เพร็กแคล” บนโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น: การศึกษานำร่อง ณ โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/8607/2/Fulltext.pdf

ศรัณยา ลาโมะ, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข มกราคม–เมษายน 2564; 31(1): 224-36.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22