การประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลยโสธร โดยใช้ระดับกลูโคสในพลาสมาหลังงดอาหารและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี
คำสำคัญ:
พลาสมากลูโคสหลังงดอาหาร; ฮีโมโกลบินเอวันซี; ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีบทคัดย่อ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ปัจจุบันอุบัติการณ์โรคเบาหวานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลยโสธร โดยใช้ระดับกลูโคสในพลาสมาหลังงดอาหาร (FPG) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 3,750 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ผลการตรวจระดับ FPG และ HbA1c 1 ปีย้อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าเฉลี่ยประชากรและการทดสอบของแมคเนมาร์
ผลการศึกษา: พบค่าเฉลี่ยของ FPG และ HbA1c ในการเข้ารับบริการครั้งหลังสุดลดลงจากครั้งก่อนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ยกเว้นช่วงอายุ > 80 ปี เมื่อประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลโดยใช้ระดับ HbA1c พบผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c <7% ร้อยละ 26.40 ในครั้งก่อน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.60 ในครั้งหลังสุด ซี่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value (McNemar’s test) <0.001) และเมื่อประเมินโดยใช้ระดับ FPG พบผู้ป่วยที่มีระดับ FPG 80-130 mg/dl ร้อยละ 25.36 ในครั้งก่อน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 34.67 ในครั้งหลังสุด ซี่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value (McNemar’s test) <0.001) ในการเข้ารับบริการครั้งก่อนพบผู้ป่วยที่มีผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีตามเกณฑ์ของ American Diabetes Association (HbA1c <7% และ FPG เท่ากับ 80-130 mg/dl) ร้อยละ 14.08 และเมื่อเข้ารับบริการครั้งหลังสุดพบร้อยละ 17.65 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value (McNemar’s test) <0.001) ช่วงอายุ 41-60 ปี และ 61-80 ปี มีจำนวนผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value (McNemar’s test) < 0.001) แม้จากการศึกษานี้จะพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการตรวจครั้งหลังสุดมีแนวโน้มการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมีจำนวนมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อและตามค่าเป้าหมายของ American Diabetes Association พบว่าผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมีเพียงร้อยละ 29.60 และร้อยละ 17.65 ตามลำดับ
สรุป: ผู้ป่วยส่วนมากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีและการติดตาม FPG หรือ HbA1c เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคลินิกโรคเบาหวานควรมีการติดตามและดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
References
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที [อินเทอร์เน็ต]. 2565
[เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th./?url=pr/detail/2/02/181256
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สมาคมโรคเบาหวานอบรม ‘ทางเลือกใหม่รักษาเบาหวานชนิด 2’ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18016
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานตามตัวชี้วัด NCD Clinic Plus ปี 2565 ข้อมูลระดับจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://yst.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายละเอียดตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211006043036.pdf
American Diabetes Association. Glycemic Targets. Diabetes Care 2015; 38(Suppl. 1): S33-40.
doi: 10.2337/dc15-S009.
ยุทธพล มั่นคง. ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมในการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลอำนาจเจริญ กรกฎาคม-ธันวาคม 2554; 4(2): 837-45.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรกฎาคม-กันยายน 2561; 12(3): 515-22.
ทัศนีย์ สิริธัญญ์สกุล. การประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลตรังโดยใช้ระดับกลูโคสในพลาสมาหลังงดอาหารและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี. วารสารเทคนิคการแพทย์ เมษายน 2562; 47(1): 6905-17.
ภูวนัย ดวงสุภา. “โรคเบาหวาน” ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hd.co.th/risks-of-diabetes-type-2-in-women
อุมาพร สิริโสภณวัฒนา. การศึกษาสถานภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทโดยใช้ระดับ FPG และระดับ HbA1c. วารสารเทคนิคการแพทย์ สิงหาคม 2558; 43(2): 5234-45.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, สุทธิพงษ์ รักเล่ง, สุกันยา นัครามนตรี, พีระวัฒน์ มุททารัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าระดับน้ำตาล ในเลือดสะสมของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข พฤษภาคม - มิถุนายน 2559; 25(3): 401-10.
Dei Cas A, Khan SS, Butler J, Mentz RJ, Bonow RO, Avogaro A, et al. Impact of diabetes on epidemiology, treatment, and outcomes of patients with heart failure. JACC Heart Fail 2015; 3(2):
-45. doi: 10.1016/j.jchf.2014.08.004. PubMed PMID: 25660838.
นนทยา ทางเรือ, เทศทัศน์ คำบุดดี, อรุษ สารพงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสาร มฉก. วิชาการ กรกฎาคม-ธันวาคม 2559; 20(39): 31-43.
บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษ, น้ำเพชร สายบัวทอง. การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ภายหลังเข้าโครงการอบรมความรู้การจัดการเบาหวานด้วยตนเองแบบกลุ่ม. รามาธิบดีพยาบาลสาร กันยายน-ธันวาคม 2551; 14(3): 289-97.
ศุภวรรน ยอดโปร่ง, ลฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การพัฒนาโรงเรียนเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เมษายน-มิถุนายน 2561; 36(2): 186-95.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ยโสธรเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.