การพยาบาลทารกแรกเกิดมีภาวะพร่องออกซิเจนที่ได้รับการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิกาย (Cooling) : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ดารา คำแหวน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลทารกแรกเกิด; ภาวะพร่องออกซิเจนตั้งแต่แรกเกิด; การลดอุณหภูมิกาย

บทคัดย่อ

ภาวะพร่องออกซิเจนตั้งแต่แรกเกิด (BA) ในทารกที่มี Apgar score 0-3 คะแนน จะทำให้ทารกเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน (HIE) ได้ การช่วยรักษาด้วยวิธีการลดอุณหภูมิกายจะทำให้อัตราการเกิดภาวะ HIE ลดลง พยาบาลมีส่วนสำคัญในการดูแลทารกเกิดวิกฤตเหล่านี้ จะต้องสามารถประเมินภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที และสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่ายได้ โดยใช้กระบวนการพยาบาล เพื่อให้ทารกปลอดภัย ไร้ความพิการและรอดชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลทารกแรกเกิดมีภาวะพร่องออกซิเจนที่ได้รับการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิกาย โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย 

วิธีการศึกษา: เลือกกรณีศึกษาทารก BA ที่ได้รับการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิกาย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลและการดูแลแบบองค์รวม

ผลการศึกษา: ทารกทั้ง 2 ราย เป็นทารกคลอดครบกำหนดมีภาวะพร่องออกซิเจนแรกเกิดระดับรุนแรง รักษาด้วยการลดอุณหภูมิกายและไม่เกิดภาวะชัก รายที่ 1 แรกเกิดไม่มีอัตราการเต้นหัวใจ ช่วยฟื้นคืนชีพและรอดชีวิต ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด รักษาด้วยยา Meropenem นอนโรงพยาบาล 19 วัน รายที่ 2 มีอัตราการเต้นหัวใจต่ำกว่า 100 bpm ช่วยฟื้นคืนชีพและรอดชีวิต ใช้ออกซิเจนแบบ NCPAP มีภาวะกระสับกระส่าย รักษาด้วยยา Morphine และมีภาวะอ่อนแรงข้อมือขวา นอนโรงพยาบาล 8 วัน ทารกทั้ง 2 ราย ได้รับการพยาบาลภาวะช็อกจากหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพในระยะแรกรับ ได้รับดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการลดอุณหภูมิกาย และได้รับพลังงานอย่างเพียงพอในระยะต่อเนื่อง ระยะก่อนจำหน่าย แนะนำบิดามารดาให้เลี้ยงดูทารกแรกเกิดต่อเนื่องที่บ้าน โดยรายที่ 1 เน้นย้ำให้บิดามารดาทำกายภาพบำบัดข้อมือขวา

สรุป: พยาบาลที่ดูแลทารกวิกฤตใน NICU จะต้องสามารถดูแลทารก BA ที่ได้รับการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิกายได้ สามารถประเมินภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคและจากการให้การรักษาพยาบาลได้ และสามารถวางแผนและให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตามแนวทางของกระบวนการพยาบาลและการดูแลแบบองค์รวม เพื่อให้ทารกปลอดภัย ไร้ความพิการ รอดชีวิต และจำหน่ายกลับบ้านได้

Author Biography

ดารา คำแหวน, โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

พย.บ. หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด

References

สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล. ปัจจัยเสี่ยงและคะแนนความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจน ในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลกุมภวาปี จ.อุดรธานี. เวชสารแพทย์ทหารบก มกราคม-มีนาคม 2562; 72(1): 141-152.

วรรณา สุธรรมา, วรางคณา เปลา, ภัทรานิษฐ์ จองแก, ทิพย์สุดา เส็งพานิช. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีลดอุณหภูมิกายต่อการควบคุมอุณหภูมิกายของทารก. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ มกราคม-มิถุนายน 2565; 13(1): 156-68.

She HQ, Sun YF, Chen L, Xiao QX, Luo BY, Zhou HS, et al. Current analysis of hypoxic-ischemic encephalopathy research issues and future treatment modalities. Front Neurosci 2023; 17: 1136500.

doi: 10.3389/fnins.2023.1136500. PubMed PMID: 37360183.

Alake O, Hardman S, Chakkarapani E. Managing hypoxic ischaemic encephalopathy in term newborn infant. Paediatrics and Child Health 2018; 28(9): 399-404.

Solayman M, Hoque S, Akber T, Islam MI, Islam MA. Prevalence of Perinatal Asphyxia with Evaluation of Associated Risk Factors in a Rural Tertiary Level Hospital. KYAMC Journal 2017; 8(1): 43-8.

Queensland Clinical Guideline. Hypoxic ischemic encephalopathy (HIE): therapeutic hypothermia (Cooling). Queensland Health; 2018.

สมบัติ มุ่งทวีพงษา. Targeted Temperature Management [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1467351558/TTM.../202016.pdf

อุษณีย์ อังคะนาวิน. การรักษาด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายในผู้ป่วยหลังหัวใจหยุดเต้น. วารสารพยาบาลทหารบก พฤษภาคม-สิงหาคม 2557; 15(2): 104-9.

สุจิตรา จันทสิงห์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่มีคะแนนแอพการ์ ใน 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ในโรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ กันยายน-ธันวาคม 2563; 35(3): 679-88.

กรรณิการ์ บูรณวนิช, กฤษณ์ เชี่ยวชาญประพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563; 64(1): 11-22.

Thomas AWN. Therapeutic hypothermia: Mechanisms of action [Internet]. 2019. [Cited 2023 Aug 25]. Available from: https://www.draeger.com/Content/Documents/Content/PDF-9018_Therapeutic-hypothermia-Mechanisms-of-actions_Whitepaper.pdf

Apgar V. A proposal for a new method of evaluation of the newborn infant. Curr Res Anesth Analg 1953; 32(4); 260–7. PubMed PMID: 13083014.

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิดและเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความรู้และทักษะการวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยเด็กกลุ่มอาการของหลายอวัยวะทำหน้าที่ผิดปกติในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น มิถุนายน 2565; 8(6): 373-86.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22