ผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • เจนวิทย์ เวชกามา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต, ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

วิธีการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ศึกษาในกลุ่มผู้พัฒนารูปแบบ และกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 116 คน ด้วยกระบวนการ PAOR เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test

ผลการศึกษา: รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ประกอบด้วย 1) พัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพจิตผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเสริมทักษะผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนด้วยแชทบอท 2) จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 3) การคัดกรองสุขภาพจิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำแนกการดูแลและเฝ้าระวังเป็น 3 ระดับตามความเสี่ยง 4) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายหลังการดำเนินงานตามรูปแบบส่งผลให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตทั้งภาพรวมและรายด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) ส่วนคุณภาพชีวิตภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001)

สรุป: รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ที่ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน คัดกรองภาวะสุขภาพจิตและดูแลตามระดบความเสี่ยง โดยมีข้อมูลเพื่อการติดตาม ส่งผลให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงลดปัญหาสุขภาพจิตลงได้

 

คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต, ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

 

 

 

 

 

 

Author Biography

เจนวิทย์ เวชกามา, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา

พ.บ.

วว. สาขาศัลกรรม

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์; 2566.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล ตุลาคม-ธันวาคม 2557; 29(4): 22–31.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, ณัฐชยา พลาชีวะ, วินัย ไตรนาทถวัลย์, ปริศนา บุญประดิษฐ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต: แนวคิดและการประยุกต์ใช้สำหรับการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ. เชียงใหม่เวชสาร 2563; 59(3): 163–72.

Schure LM, van den Heuvel ET, Stewart RE, Sanderman R, de Witte LP, Meyboom-de Jong B. Beyond stroke: description and evaluation of an effective intervention to support family caregivers of stroke patients. Patient Educ Couns 2006; 62(1): 46–55. doi: 10.1016/j.pec.2005.05.015. PubMed PMID: 16023823.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2556.

Denno MS, Gillard PJ, Graham GD, DiBonaventura MD, Goren A, Varon SF, et al. Anxiety and depression associated with caregiver burden in caregivers of stroke survivors with spasticity. Arch Phys Med Rehabil 2013; 94(9): 1731-6. doi: 10.1016/j.apmr.2013.03.014. PubMed PMID: 23548544.

Rioux JP, Narayanan R, Chan CT. Caregiver burden among nocturnal home hemodialysis patients. Hemodial Int 2012; 16(2): 214-9. doi: 10.1111/j.1542-4758.2011.00657.x. PubMed PMID: 22304491.

ชนิกานต์ ส่วยนุ, ภูมิ ชมพูศรี, จิตรลดา อุทัยพิบูลย์. การศึกษาปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและทางจิตใจ และความต้องการให้ช่วยเหลือของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ พฤษภาคม-สิงหาคม 2562; 2(2): 62-9.

Lim JW, Zebrack B. Caring for family members with chronic physical illness: A critical review of caregiver literature. Health Qual life Outcomes 2004; 2: 50. doi: 10.1186/1477-7525-2-50. PubMed PMID: 15377384.

Berg A, Palomäki H, Lönnqvist J, Lehtihalmes M, Kaste M. Depression among caregivers of stroke survivors. Stroke 2005; 36(3): 639-43. doi: 10.1161/01.STR.0000155690.04697.c0. PubMed PMID: 15677575.

พัชรา เสถียรพักตร์, โสภาพันธ์ สอาด, รุจิตรา วันวิชา, อัครภา เกื้อสุวรรณ. ประสิทธิผลของการอบรมการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงโดยใช้สื่อแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ต่อระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข มกราคม-เมษายน 2563; 30(1): 47-56.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กันยายน-ธันวาคม 2560; 9(3): 57-69.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1988.

ปภาดา ชมภูนิตย์, พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ, รัชดาภรณ์ แม้นศิริ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เมษายน-มิถุนายน 2567; 42(2): 1-14.

วัชรินทร์ เสาะเห็ม, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรกฎาคม-กันยายน 2563; 13(3): 44-55.

เบญจมาศ คินันติ, นาดีละห์ สาและมิง, มัญชุภา ถาวรวรรณ์, ขนิษฎา กลิ่นอ้น, กรกวรรษ ดารุนิกร, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลของแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนครพนม มกราคม-มิถุนายน 2567; 2(1): 1-11.

ปราณี เนาวนิตย์, นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์, กฤตภาส สีหะวงษ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มกราคม-มิถุนายน 2567; 8(1): 93-118.

นิรันตา ศรีบุญทิพย์, จักรกฤษณ์ พลราชม, ประเวช ชุ่มเกษรกูลกิจ, อดุลย์ ฉายพงษ์. การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2561. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กันยายน-ธันวาคม 2563; 12(3): 44-57.

พรชิตา อุปถัมภ์. พฤติกรรมการแสดงหาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ตุลาคม-ธันวาคม 2559; 29(2): 71-87.

ผาณิต หลีเจริญ, ศิริวรรณ ชูกำเนิด, ยุวนิดา อารามรมย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารเพื่อสัมพันธภาพต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก. วิชาการ กรกฎาคม-ธันวาคม 2566; 27(2): 217-30.

คมกริช สุทธศรี, ภารดี นานาศิลป์, วณิชา พึ่งชมพู. ภาระการดูแลและคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการล้างไตทางช้องท้องแบบต่อเนื่อง. พยาบาลสาร เมษายน-มิถุนายน 2564; 48(2): 119-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-21

How to Cite

เวชกามา เ. . (2025). ผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร, 27(1), 2712841. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2841