สถานการณ์มารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ การเกิดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดและผลการดูแลรักษาทารกแรก เกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช กัญญาคำ โรงพยาบาลยโสธร

บทคัดย่อ

ัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการเกิดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด และผลการดูแลรักษาทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะ
ตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลยโสธร การรักษามารดาที่ติดเชื้อซิฟิลิสในขณะตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลยโสธร
วิธีการศึกษา : ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของหญิง
ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสที่มาคลอดที่โรงพยาบาลยโสธร และทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่
โรงพยาบาลยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการศึกษา : ความชุกของซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 0.59 และพบเป็นมารดาอายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 55.7 หญิงตั้งครรภ์
ที่ติดเชื้อได้รับการรักษาเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 69.3 พบทารกที่มีอาการเข้าได้กับซิฟิลิสแต่กำเนิดทั้งหมด 9 ราย อัตราทารกแรกเกิด
เป็นซิฟิลิสแต่กำเนิด 0.6 ต่อ 1,000 เกิดมีชีพ พบว่าทารกแรกเกิดกลุ่มที่มารดาได้รับ Adequate penicillin G regimen มีน้ำหนัก
เฉลี่ย 3,041 กรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่มารดาไม่ได้รับการรักษาด้วยยาใดๆ หรือได้ Inadequate penicillin G regimen
มีน้ำหนักเฉลี่ย 2,919 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) แต่พบว่าทารกแรกเกิดกลุ่มที่มารดาได้รับ Adequate
penicillin G regimen อายุครรภ์เฉลี่ย 38.3 สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่มารดาไม่ได้รับการรักษาด้วยยาใดๆ หรือได้ Inadequate
penicillin G regimen อายุครรภ์เฉลี่ย 36.1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)
สรุป : สถานการณ์ความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสและทารกที่เป็นซิฟิลิสแต่กำเนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบว่าส่วนใหญ่ไม่
ทราบประวัติการติดเชื้อซิฟิลิสของสามี/คู่เพศสัมพันธ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการฝากครรภ์คุณภาพ การคัดกรองโรค การให้
ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และความจำเป็นที่จะต้องรักษาโรคซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์รวมถึงการรักษาสามี/คู่เพศสัมพันธ์
รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับผลที่จะเกิดขึ้นกับทารกควบคู่ไปด้วยกัน

References

ชนเมธ เตชะแสนสิริ, สุรภัทร อัศววิรุฬหการ. BUG AMONG US: Congenital syphilis. PIDST Gazette 2559; 22: 4-5.

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

แนวทางการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2564.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางระดับชาติเรื่องการ

กำจัดซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; ธันวาคม 2557.

ศนิษา ตันประเสริฐ, ภาวินี ด้วงเงิน, สมบัติ แทนประเสริฐสุข. ความชุกของโรคซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ.

วารสารกรมควบคุมโรค 2556; 39(1): 58-66.

Kunpalin Y, Sirisabya A, Chaithongwongwatthana S. The Surge of Maternal and Congenital Syphilis in a

Tertiary Care Center in Bangkok, Thailand. Thai J Obstet Gynaecol 2019; 27(2): 94-102.

ประไพพร จงก้องเกียรติ. การศึกษาผลการดูแลรักษาทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่คลอดใน

โรงพยาบาลตากสิน [ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ]. กรุงเทพฯ:

โรงพยาบาลตากสิน; 2562.

จริยา ยงค์ประดิษฐ์. การศึกษาผลการดูแลรักษาทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่คลอดใน

โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2564; 60(2): 118-31.

Cassell JA, Mercer CH, Sutcliffe L, Petersen I, Islam A, Brook MG, et al. Trends in sexually transmitted

infections in general practice 1990-2000: population based study using data from the UK general practice

research database. BMJ 2006; 332(7537): 332-4. doi: 10.1136/bmj.38726.404120.7C. PubMed PMID:

Cliffe SJ, Tabrizi S, Sullivan EA, Pacific Islands Second Generation HIV Surveillance Group. Chlamydia in

the Pacific region, the silent epidemic. Sex Transm Dis 2008; 35(9): 801-6. doi:

1097/OLQ.0b013e318175d885. PubMed PMID: 18580823.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01